พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมแนวทางแก้ไขปัญหาคนขอทานว่า จากข้อมูลที่พบจำนวนขอทานในพื้นที่กรุงเทพมหานครค่อนข้างมากในช่วงนี้ อีกทั้งยังมีขอทานต่างด้าว จึงได้ทบทวนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เทศกิจ กรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุข และภาคสังคมเอ็นจีโอ ซึ่งพบขอทานมีทั้งที่มาจากความสมัครใจด้วยเหตุจากความยากจน รายได้น้อย และมาจากแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทยจำนวนมาก ทำให้เด็กจำนวนหนึ่งที่ติดตามเข้ามาขาดการศึกษา หันมาขอทาน และมาจากขบวนการนำหรือเช่าเด็กมาบังคับขอทาน เข้าข่ายการค้ามนุษย์
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้ พม.จัดชุดปฏิบัติการโดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเทศกิจ กทม. นักสังคมจิตวิทยา แพทย์ และภาคเอ็นจีโอลงพื้นที่ เริ่มจากในเขตกรุงเทพมหานคร ตามศูนย์การค้า สะพานลอย สวนสาธารณะ และจุดเสี่ยงต่างๆ เพื่อสำรวจดูปัญหาขอทาน จากนั้นจะนำมาคัดแยกคัดกรองฟื้นฟูสุขภาพ กรณีเข้าข่ายเป็นการค้ามนุษย์ก็นำสู่กระบวนการทางกฎหมาย หากเป็นต่างด้าวก็ประสานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อผลักดันส่งกลับประเทศต้นทาง กรณีเป็นผู้ด้อยโอกาสก็นำมาเยียวยาดูแลเรื่องอาชีพ โดยจะเริ่มดำเนินการลงพื้นที่สำรวจในสัปดาห์หน้า เบื้องต้นจะใช้เวลาดำเนินการภายใน 7 วัน จากนั้นจะประเมินวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงให้เกิดการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งนี้ การลงพื้นที่ดังกล่าวเป็นการจัดระเบียบไม่ใช่การกวาดล้างขอทาน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีตัวเลขชัดเจนว่า มีขอทานพื้นที่ต่างๆ เท่าไร มีเพียงข้อมูลตัวเลขขอทานล่าสุดที่ พม.ให้ความช่วยเหลือ และดูแลอยู่ในหน่วยงานสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการที่สถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง 11 แห่ง แยกเป็นขอทานไทย 410 คน และขอทานต่างด้าว 323 คน ขอทานเป็นปัญหาสังคมที่หยั่งรากลึกและเป็นเรื่องละเอียดอ่อนคงไม่สามารถระบุได้ว่า จะหมดไปจากสังคมไทยเมื่อไร การดำเนินการจะต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้สังคมไทยดีขึ้น
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้ พม.จัดชุดปฏิบัติการโดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเทศกิจ กทม. นักสังคมจิตวิทยา แพทย์ และภาคเอ็นจีโอลงพื้นที่ เริ่มจากในเขตกรุงเทพมหานคร ตามศูนย์การค้า สะพานลอย สวนสาธารณะ และจุดเสี่ยงต่างๆ เพื่อสำรวจดูปัญหาขอทาน จากนั้นจะนำมาคัดแยกคัดกรองฟื้นฟูสุขภาพ กรณีเข้าข่ายเป็นการค้ามนุษย์ก็นำสู่กระบวนการทางกฎหมาย หากเป็นต่างด้าวก็ประสานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อผลักดันส่งกลับประเทศต้นทาง กรณีเป็นผู้ด้อยโอกาสก็นำมาเยียวยาดูแลเรื่องอาชีพ โดยจะเริ่มดำเนินการลงพื้นที่สำรวจในสัปดาห์หน้า เบื้องต้นจะใช้เวลาดำเนินการภายใน 7 วัน จากนั้นจะประเมินวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงให้เกิดการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งนี้ การลงพื้นที่ดังกล่าวเป็นการจัดระเบียบไม่ใช่การกวาดล้างขอทาน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีตัวเลขชัดเจนว่า มีขอทานพื้นที่ต่างๆ เท่าไร มีเพียงข้อมูลตัวเลขขอทานล่าสุดที่ พม.ให้ความช่วยเหลือ และดูแลอยู่ในหน่วยงานสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการที่สถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง 11 แห่ง แยกเป็นขอทานไทย 410 คน และขอทานต่างด้าว 323 คน ขอทานเป็นปัญหาสังคมที่หยั่งรากลึกและเป็นเรื่องละเอียดอ่อนคงไม่สามารถระบุได้ว่า จะหมดไปจากสังคมไทยเมื่อไร การดำเนินการจะต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้สังคมไทยดีขึ้น