กองกำลังที่นำโดยสหรัฐฯปฏิบัติการโจมตีทางอากาศอย่างน้อย 13 ครั้งในซีเรียใกล้กับพรมแดนอิรักวันพุธ (24) ซึ่งนับเป็นวันที่ 2 ของการกวาดล้างกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ที่เข้ายึดพื้นที่ทั้งสองฝั่งตามแนวชายแดน กลุ่มสังเกตการณ์เพื่อสิทธิมนุษยชนในซีเรีย (Syrian Observatory for Human Rights) ระบุ
รามี อับดุลเราะห์มาน ผู้อำนวยการกลุ่มเอ็นจีโอที่ติดตามสงครามในซีเรียกลุ่มนี้ บอกกับรอยเตอร์ว่า การโจมตีดังกล่าวได้เกิดขึ้นที่เมืองอัลบู คามัล ที่อยู่ติดแนวชายแดนและพื้นที่โดยรอบ
เมื่อวันอังคาร (23) สหรัฐฯกับบรรดาพันธมิตรอาหรับได้ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศเข้าใส่กลุ่มไอเอสในซีเรีย โดยโฆษกกองทัพแดนอินทรีกล่าวว่า การโจมตีดังกล่าว “เป็นเพียงแค่การเริ่มต้น”เท่านั้น
เมืองอัลบู คามัล ซึ่งตั้งอยูู่บนทวงหลวงแถบหุบเขาริมแม่น้ำยูเฟรติส คือหนึ่งในจุดข้ามพรมแดนที่สำคัญที่สุดระหว่างอิรักและซีเรีย พร้อมทั้งเป็นแนวเขตแดนที่กลุ่มไอเอสต้องการที่จะลบออก หลังจากเข้ายึดดินแดนทั้งสองฝั่งและประกาศสถาปนาดินแดน “คอลิฟะห์”
เมืองแห่งนี้เชื่อมต่อจังหวัดรอกา เมืองหลวงโดยพฤตินัยของกลุ่มไอเอสในซีเรียกับแนวหน้าทางยุทธศาสตร์ในภาคตะวันตกของอิรักและดินแดนที่กลุ่มติดอาวุธยึดครองตามทางแม่น้ำยูเฟรติสไปจนถึงชานเมืองทางตะวันตกและทางใต้ของกรุงแบกแดด
การทำให้กลุ่มไอเอสไม่สามารถข้ามพรมแดนในแถบหุบเขายูเฟรติสได้โดยอิสระอาจเป็นวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ขั้นต้นของกลุ่มพันธมิตรนานาชาติที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งมีเป้าหมายที่การกำราบกลุ่มติดอาวุธพวกนี้จากทั้งสองฝั่งพรมแดน
กลุ่มไอเอสใช้ประโยชน์จากความสามารถของตนข้ามพรมแดนแห่งนี้เพื่อกวาดยึดพื้นทั้งสองฝั่ง คลื่นนักรบที่หลั่งไหลมาจากซีเรียได้ช่วยยึดพื้นที่จำนวนมากทางตอนเหนือของอิรักในช่วงการรุกคืบสายฟ้าแลบเมื่อเดือนมิถุนายน และยุทโธปกรณ์ที่พวกเขายึดมาได้นั้น ก็ถูกส่งกลับไปช่วยพวกเขาป้องกันดินแดนในซีเรียได้แน่นหนายิ่งขึ้น
รามี อับดุลเราะห์มาน ผู้อำนวยการกลุ่มเอ็นจีโอที่ติดตามสงครามในซีเรียกลุ่มนี้ บอกกับรอยเตอร์ว่า การโจมตีดังกล่าวได้เกิดขึ้นที่เมืองอัลบู คามัล ที่อยู่ติดแนวชายแดนและพื้นที่โดยรอบ
เมื่อวันอังคาร (23) สหรัฐฯกับบรรดาพันธมิตรอาหรับได้ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศเข้าใส่กลุ่มไอเอสในซีเรีย โดยโฆษกกองทัพแดนอินทรีกล่าวว่า การโจมตีดังกล่าว “เป็นเพียงแค่การเริ่มต้น”เท่านั้น
เมืองอัลบู คามัล ซึ่งตั้งอยูู่บนทวงหลวงแถบหุบเขาริมแม่น้ำยูเฟรติส คือหนึ่งในจุดข้ามพรมแดนที่สำคัญที่สุดระหว่างอิรักและซีเรีย พร้อมทั้งเป็นแนวเขตแดนที่กลุ่มไอเอสต้องการที่จะลบออก หลังจากเข้ายึดดินแดนทั้งสองฝั่งและประกาศสถาปนาดินแดน “คอลิฟะห์”
เมืองแห่งนี้เชื่อมต่อจังหวัดรอกา เมืองหลวงโดยพฤตินัยของกลุ่มไอเอสในซีเรียกับแนวหน้าทางยุทธศาสตร์ในภาคตะวันตกของอิรักและดินแดนที่กลุ่มติดอาวุธยึดครองตามทางแม่น้ำยูเฟรติสไปจนถึงชานเมืองทางตะวันตกและทางใต้ของกรุงแบกแดด
การทำให้กลุ่มไอเอสไม่สามารถข้ามพรมแดนในแถบหุบเขายูเฟรติสได้โดยอิสระอาจเป็นวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ขั้นต้นของกลุ่มพันธมิตรนานาชาติที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งมีเป้าหมายที่การกำราบกลุ่มติดอาวุธพวกนี้จากทั้งสองฝั่งพรมแดน
กลุ่มไอเอสใช้ประโยชน์จากความสามารถของตนข้ามพรมแดนแห่งนี้เพื่อกวาดยึดพื้นทั้งสองฝั่ง คลื่นนักรบที่หลั่งไหลมาจากซีเรียได้ช่วยยึดพื้นที่จำนวนมากทางตอนเหนือของอิรักในช่วงการรุกคืบสายฟ้าแลบเมื่อเดือนมิถุนายน และยุทโธปกรณ์ที่พวกเขายึดมาได้นั้น ก็ถูกส่งกลับไปช่วยพวกเขาป้องกันดินแดนในซีเรียได้แน่นหนายิ่งขึ้น