ดร.วัลลภ สุวรรณดี ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย น.พ.พีระพงษ์ สายเชื้อ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ร่วมชมการฝึกซ้อมแผนเตรียมความพร้อมตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โดยมีคณะผู้บริหารสำนักการแพทย์ สำนักอนามัย บุคลากรในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร และผู้เกี่ยวข้องร่วมสังเกตการณ์ ณ โรงพยาบาลกลาง
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครให้ความสำคัญต่อสถานการณ์การระบาดของไวรัสอีโบลา จึงมีการฝึกซ้อมแผนเตรียมการรับมือโรคอีโบลา ซึ่งได้จำลองเหตุการณ์เสมือนจริง ตั้งแต่การพบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้ออีโบลาที่สนามบินสุวรรณภูมิ แล้วนำส่งเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยจัดฝึกซ้อมแผนตั้งแต่จุดคัดกรอง ห้องฉุกเฉิน/แผนกผู้ป่วยนอก การตรวจสอบประวัติการเดินทางจากพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดของโรค หรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยต้องสงสัยและประวัติการเจ็บป่วย การเตรียมการของบุคลากรทางการแพทย์ อาทิ อุปกรณ์ป้องกันตน (PPE) ในการตรวจรักษา ห้องแยก แนวทางในการรักษา การสอบสวนหาผู้สัมผัส การดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติสำหรับโรคติดต่ออันตราย การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่เป็นมาตรฐาน (กรณีฉุกเฉิน) เพื่อให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงาน เป็นการสร้างความมั่นใจให้ประชาชนถึงการเตรียมความพร้อมของกรุงเทพมหานครในการรับมือกับโรคไวรัสอีโบลาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
จากการฝึกซ้อมแผนดังกล่าวขณะนี้กรุงเทพมหานครมีความพร้อมในระดับหนึ่ง ขอให้ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติมั่นใจได้ว่าจะปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ทั้งนี้ หากมีตรวจพบผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยติดเชื้อไวรัสอีโบลาในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะเร่งให้การดูแล รักษา และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอย่างเต็มที่ อีกทั้งจะมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล รักษา และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก 5 ประเทศ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน ไนจีเรีย และเซเนกัล ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดในเดือนกุมภาพันธ์ 57 มีผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อไวรัสอีโบลา 4,366 ราย และมีผู้เสียชีวิต 2,218 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 16 กันยายน 57)
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครให้ความสำคัญต่อสถานการณ์การระบาดของไวรัสอีโบลา จึงมีการฝึกซ้อมแผนเตรียมการรับมือโรคอีโบลา ซึ่งได้จำลองเหตุการณ์เสมือนจริง ตั้งแต่การพบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้ออีโบลาที่สนามบินสุวรรณภูมิ แล้วนำส่งเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยจัดฝึกซ้อมแผนตั้งแต่จุดคัดกรอง ห้องฉุกเฉิน/แผนกผู้ป่วยนอก การตรวจสอบประวัติการเดินทางจากพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดของโรค หรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยต้องสงสัยและประวัติการเจ็บป่วย การเตรียมการของบุคลากรทางการแพทย์ อาทิ อุปกรณ์ป้องกันตน (PPE) ในการตรวจรักษา ห้องแยก แนวทางในการรักษา การสอบสวนหาผู้สัมผัส การดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติสำหรับโรคติดต่ออันตราย การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่เป็นมาตรฐาน (กรณีฉุกเฉิน) เพื่อให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงาน เป็นการสร้างความมั่นใจให้ประชาชนถึงการเตรียมความพร้อมของกรุงเทพมหานครในการรับมือกับโรคไวรัสอีโบลาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
จากการฝึกซ้อมแผนดังกล่าวขณะนี้กรุงเทพมหานครมีความพร้อมในระดับหนึ่ง ขอให้ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติมั่นใจได้ว่าจะปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ทั้งนี้ หากมีตรวจพบผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยติดเชื้อไวรัสอีโบลาในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะเร่งให้การดูแล รักษา และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอย่างเต็มที่ อีกทั้งจะมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล รักษา และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก 5 ประเทศ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน ไนจีเรีย และเซเนกัล ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดในเดือนกุมภาพันธ์ 57 มีผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อไวรัสอีโบลา 4,366 ราย และมีผู้เสียชีวิต 2,218 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 16 กันยายน 57)