ในการสัมมนา "พินัยกรรมชีวิต สิทธิในการตาย" พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ประเด็นหลักที่ยังคงเป็นปัญหา ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่ชัดเจนระหว่างญาติผู้ป่วยที่ยังมีความขัดแย้ง แต่ขณะที่แพทย์ยึดเกณฑ์สมองตายเป็นหลัก
ส่วนตัวมองว่าจุดที่เป็นปัญหาที่สุดของแพทย์คือ การตัดสินใจให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ญาติผู้ป่วยทุกคนต้องตัดสินใจไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งจะป้องกันปัญหาการจัดการมรดก โดยบุคลากรทางการแพทย์อาจตกเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดได้โดยไม่รู้ตัว
สอดคล้องกับ น.พ.อุกฤษฏ์ มิลินทางกูร ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องได้รับการรู้แลรักษาแบบประคับประคอง เพื่อที่ก่อนตายผู้ป่วยจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงจำเป็นต้องทำพินัยกรรมชีวิต หรือ หนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต เป็นลายลักษณ์อักษรตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติปี 2550 ไว้ล่วงหน้า ซึ่งแต่ละบุคคลสามารถกำหนดรายละเอียดปฏิเสธการรักษา เพื่อให้แพทย์วางแผนการรักษาร่วมกันกับญาติ ป้องกันความขัดแย้งหรือการฟ้องดำเนินดคี
ส่วนตัวมองว่าจุดที่เป็นปัญหาที่สุดของแพทย์คือ การตัดสินใจให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ญาติผู้ป่วยทุกคนต้องตัดสินใจไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งจะป้องกันปัญหาการจัดการมรดก โดยบุคลากรทางการแพทย์อาจตกเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดได้โดยไม่รู้ตัว
สอดคล้องกับ น.พ.อุกฤษฏ์ มิลินทางกูร ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องได้รับการรู้แลรักษาแบบประคับประคอง เพื่อที่ก่อนตายผู้ป่วยจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงจำเป็นต้องทำพินัยกรรมชีวิต หรือ หนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต เป็นลายลักษณ์อักษรตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติปี 2550 ไว้ล่วงหน้า ซึ่งแต่ละบุคคลสามารถกำหนดรายละเอียดปฏิเสธการรักษา เพื่อให้แพทย์วางแผนการรักษาร่วมกันกับญาติ ป้องกันความขัดแย้งหรือการฟ้องดำเนินดคี