นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า กรมหม่อนไหมดำเนินการส่งเสริมพัฒนากระบวนการมาตรฐานการผลิตและระบบการควบคุมตรวจสอบผ้าไหมไทย จนทำให้ปัจจุบันมีผ้าไหมไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ผ้าไหมยกดอก จ.ลำพูน (ปี 2550) ผ้าไหมแพรวา จ.กาฬสินธุ์ (ปี 2550) และผ้าไหมมัดหมี่ชนบท จ.ขอนแก่น (ปี 2553)
อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวต่อไปว่า กรมหม่อนไหมดำเนินการด้านการอนุรักษ์และปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง โดยผ้าไหมไทยที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ล่าสุด คือ ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลว ง ซึ่งเป็นผ้าไหมที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ตำบลเมืองหลวง อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากสินค้าชนิดเดียวกันที่มีแหล่งกำเนิดมาจากพื้นที่อื่น ๆ คือ เส้นไหมที่ใช้ในการทอผ้า ใช้เส้นไหมไทยพื้นบ้านทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน หรือใช้เส้นไหมไทยพื้นบ้านเป็นเส้นพุ่งใช้ไหมอุตสาหกรรมเป็นเส้นยืน มีการย้อมด้วยสีธรรมชาติโดยย้อมด้วยมะเกลือที่มีอยู่ในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง มีการอบผ้าและผลิตภัณฑ์ด้วยสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีวิธีการอบผ้าและผลิตภัณฑ์ด้วยสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทำให้มีกลิ่นหอมติดทนนาน ด้านความสวยงามของผ้า เนื้อผ้าจะมีความแน่นและมีการทิ้งตัว ซึ่งเกิดจากการย้อมสีดำด้วยมะเกลือสลับกับการหมักโคลนซ้ำหลายครั้ง มีความอ่อนนุ่มและเลื่อมมันจากเส้นไหมพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเก็บมีการเย็บและปักลวดลายด้วยเส้นไหมสีสันต่าง ๆ เรียกว่า “การแซว” ซึ่งมีทั้งลวดลายโบราณและลายประยุกต์จากภูมิปัญญาดั้งเดิม โดยขั้นตอนการผลิตผ้าไหมตั้งแต่การเลี้ยงไหม การสาวไหม การทอผ้า ลอกกาว ย้อมสีไหม การตัดเย็บและการปักทำด้วยมือในทุกขั้นตอน
สำหรับการดำเนินการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง จังหวัดศรีสะเกษนั้น ขณะนี้กรมหม่อนไหมได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว และอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียน ซึ่งการขึ้นทะเบียนภายใต้เครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ นอกจากจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าไหมไทยและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระดับโลกแล้ว ยังช่วยคุ้มครองผู้ผลิตและป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ช่วยสร้างความภาคภูมิใจในอาชีพแก่เกษตรกรและคนในชุมชน สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มชุมชนท้องถิ่น ที่ต้องร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพสินค้าของตน สร้างความรู้สึกผูกพัน และภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิด ทำให้เกิดการตื่นตัวในการอนุรักษ์และรักษาภูมิปัญญาการผลิตผ้าไหมไทยมากขึ้น
อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวต่อไปว่า กรมหม่อนไหมดำเนินการด้านการอนุรักษ์และปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง โดยผ้าไหมไทยที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ล่าสุด คือ ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลว ง ซึ่งเป็นผ้าไหมที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ตำบลเมืองหลวง อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากสินค้าชนิดเดียวกันที่มีแหล่งกำเนิดมาจากพื้นที่อื่น ๆ คือ เส้นไหมที่ใช้ในการทอผ้า ใช้เส้นไหมไทยพื้นบ้านทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน หรือใช้เส้นไหมไทยพื้นบ้านเป็นเส้นพุ่งใช้ไหมอุตสาหกรรมเป็นเส้นยืน มีการย้อมด้วยสีธรรมชาติโดยย้อมด้วยมะเกลือที่มีอยู่ในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง มีการอบผ้าและผลิตภัณฑ์ด้วยสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีวิธีการอบผ้าและผลิตภัณฑ์ด้วยสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทำให้มีกลิ่นหอมติดทนนาน ด้านความสวยงามของผ้า เนื้อผ้าจะมีความแน่นและมีการทิ้งตัว ซึ่งเกิดจากการย้อมสีดำด้วยมะเกลือสลับกับการหมักโคลนซ้ำหลายครั้ง มีความอ่อนนุ่มและเลื่อมมันจากเส้นไหมพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเก็บมีการเย็บและปักลวดลายด้วยเส้นไหมสีสันต่าง ๆ เรียกว่า “การแซว” ซึ่งมีทั้งลวดลายโบราณและลายประยุกต์จากภูมิปัญญาดั้งเดิม โดยขั้นตอนการผลิตผ้าไหมตั้งแต่การเลี้ยงไหม การสาวไหม การทอผ้า ลอกกาว ย้อมสีไหม การตัดเย็บและการปักทำด้วยมือในทุกขั้นตอน
สำหรับการดำเนินการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง จังหวัดศรีสะเกษนั้น ขณะนี้กรมหม่อนไหมได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว และอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียน ซึ่งการขึ้นทะเบียนภายใต้เครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ นอกจากจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าไหมไทยและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระดับโลกแล้ว ยังช่วยคุ้มครองผู้ผลิตและป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ช่วยสร้างความภาคภูมิใจในอาชีพแก่เกษตรกรและคนในชุมชน สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มชุมชนท้องถิ่น ที่ต้องร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพสินค้าของตน สร้างความรู้สึกผูกพัน และภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิด ทำให้เกิดการตื่นตัวในการอนุรักษ์และรักษาภูมิปัญญาการผลิตผ้าไหมไทยมากขึ้น