ดร.ทันตแพทย์สุรสิงห์ วิศรุตรัตน รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เชียงใหม่ กล่าวว่า เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลัน เป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง อัตราตายประมาณร้อยละ 60-90 โรคนี้ไม่มีวัคซีน ป้องกัน และยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ และจากข้อมูลองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคแอฟริกา พบผู้ป่วยสะสม 3,069 ราย เสียชีวิต 1,552 ราย ใน 4 ประเทศ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน และ ไนจีเรีย
สำหรับการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศไทย จากรายงานสำนักระบาดวิทยา จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค หรือผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศไทย 1 ราย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557 โดยเป็นผู้เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดมีอาการไข้ 38.8 องศาเซลเซียล เจ็บคอ มีน้ำมูก ได้รับตัวไว้ดูแลรักษาในห้องแยกโรคของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และมีผู้สัมผัสผู้ป่วยรายนี้ที่ต้องเฝ้าระวัง จำนวน 16 คน
โดยกรมการแพทย์ และมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ ร่วมกับ สสจ.เชียงใหม่ ได้ร่วมกันจัดการฝึกอบรม เตรียมความพร้อมสถานพยาบาลในการดูแลรักษา ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบลา ให้แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ชันสูตร เจ้าหน้าที่สอบสวนโรค และบุคลากรด้านสาธารณสุข ทั้งในโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนใน จ.เชียงใหม่ ตัวแทนจาก สสจ.ลำพูน และโรงพยาบาล จ.ลำพูน มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 200 คน เพื่อมุ่งเน้นสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในด้านความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
สำหรับการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศไทย จากรายงานสำนักระบาดวิทยา จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค หรือผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศไทย 1 ราย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557 โดยเป็นผู้เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดมีอาการไข้ 38.8 องศาเซลเซียล เจ็บคอ มีน้ำมูก ได้รับตัวไว้ดูแลรักษาในห้องแยกโรคของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และมีผู้สัมผัสผู้ป่วยรายนี้ที่ต้องเฝ้าระวัง จำนวน 16 คน
โดยกรมการแพทย์ และมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ ร่วมกับ สสจ.เชียงใหม่ ได้ร่วมกันจัดการฝึกอบรม เตรียมความพร้อมสถานพยาบาลในการดูแลรักษา ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบลา ให้แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ชันสูตร เจ้าหน้าที่สอบสวนโรค และบุคลากรด้านสาธารณสุข ทั้งในโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนใน จ.เชียงใหม่ ตัวแทนจาก สสจ.ลำพูน และโรงพยาบาล จ.ลำพูน มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 200 คน เพื่อมุ่งเน้นสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในด้านความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา