นายสมชัย สัจจพงษ์ ประธานคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (22 ส.ค.) ที่ประชุมคณะกรรมการสลากฯ จะพิจารณารื้อโควตาสลากกว่า 43 ล้านฉบับ ที่หมดอายุลงในวันที่ 16 กันยายนนี้ ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่สั่งการให้ชะลอการต่อสัญญา โดยคณะกรรมการจะร่วมกับฝ่ายกฎหมายว่ามีช่องทางดึงสลากฯ ดังกล่าวกลับคืนมาได้ เนื่องจากขณะนี้โควตาดังกล่าวติดขัดจากมติคณะกรรมการสลากฯ ชุดก่อนที่อนุมัติต่อสัญญาไปแล้ว
ทั้งนี้ ที่ประชุมจะพิจารณาว่าสามารถดึงโควตาที่มีอยู่มาจัดสรรใหม่ได้หรือไม่ หากพิจารณาแล้วหากไม่สามารถทำได้ ก็จะต้องจัดสรรโควตาให้กับผู้ค้ารายเดิมไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2558 ตามสัญญาที่ทำไว้ แต่ถ้าสามารถทำได้ก็ยิ่งดี โดยต้องมีเหตุผลเพียงพอที่จะยกเลิกโควตาดังกล่าว อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าเท่าที่ศึกษามติคณะกรรมการชุดที่ผ่านมา พบว่ามีแนวโน้มน้อยมากที่จะยึดคืนมาจัดสรรใหม่ได้
ขณะเดียวกัน กรณีที่มีคำสั่งในปั๊มตราหน้าสลากควบคุมว่า ได้ทดลองแยกโควตาจำหน่ายสลากด้วยการปั๊มตราสลากควบคุมสีน้ำเงิน ตั้งแต่งวดวันที่ 16 กันยายน เป็นต้นไป เพื่อให้ทราบว่าโควตาสลากกว่า 43 ล้านฉบับ ที่เป็นรายย่อยจริง ต้องมารับสลากด้วยตนเอง เพื่อให้ทราบใครเป็นผู้ขาย และสามารถตรวจสอบได้ว่าขายเกินราคาจากที่รับไปในราคาฉบับละ 74.4 บาท หรือไม่ ซึ่งหากตรวจพบว่ามีการขายเกินราคา เช่น 100 บาท ซึ่งแพงกว่าความเป็นจริง ก็ต้องมีการสอบถามเรื่องต้นทุน หรือมีมาตรการอื่นเช่น ตัดสิทธิ์ผู้ค้าในการรับโควตาครั้งต่อไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับสลากฯ ที่ไม่ได้ปั๊มตราเครื่องหมายนั้น จะเป็นโควตาในส่วนของนิติบุคคล มูลนิธิ องค์กรต่างๆ ก็จะเป็นการตรวจสอบกลไกตลาดอีกด้วย และตรวจได้ว่าสลากเหล่านี้ขายกันในราคาเท่าใด และสามารถรู้ได้ว่า รายย่อยมีการรับสลากไปขายต่อ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะทำให้สำนักงานสลากฯ สามารถดูราคาของ 2 กลุ่มนี้ได้ว่าขายไปให้กลุ่มไหน และมีการขายเกินราคากันเท่าไร
ทั้งนี้ ที่ประชุมจะพิจารณาว่าสามารถดึงโควตาที่มีอยู่มาจัดสรรใหม่ได้หรือไม่ หากพิจารณาแล้วหากไม่สามารถทำได้ ก็จะต้องจัดสรรโควตาให้กับผู้ค้ารายเดิมไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2558 ตามสัญญาที่ทำไว้ แต่ถ้าสามารถทำได้ก็ยิ่งดี โดยต้องมีเหตุผลเพียงพอที่จะยกเลิกโควตาดังกล่าว อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าเท่าที่ศึกษามติคณะกรรมการชุดที่ผ่านมา พบว่ามีแนวโน้มน้อยมากที่จะยึดคืนมาจัดสรรใหม่ได้
ขณะเดียวกัน กรณีที่มีคำสั่งในปั๊มตราหน้าสลากควบคุมว่า ได้ทดลองแยกโควตาจำหน่ายสลากด้วยการปั๊มตราสลากควบคุมสีน้ำเงิน ตั้งแต่งวดวันที่ 16 กันยายน เป็นต้นไป เพื่อให้ทราบว่าโควตาสลากกว่า 43 ล้านฉบับ ที่เป็นรายย่อยจริง ต้องมารับสลากด้วยตนเอง เพื่อให้ทราบใครเป็นผู้ขาย และสามารถตรวจสอบได้ว่าขายเกินราคาจากที่รับไปในราคาฉบับละ 74.4 บาท หรือไม่ ซึ่งหากตรวจพบว่ามีการขายเกินราคา เช่น 100 บาท ซึ่งแพงกว่าความเป็นจริง ก็ต้องมีการสอบถามเรื่องต้นทุน หรือมีมาตรการอื่นเช่น ตัดสิทธิ์ผู้ค้าในการรับโควตาครั้งต่อไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับสลากฯ ที่ไม่ได้ปั๊มตราเครื่องหมายนั้น จะเป็นโควตาในส่วนของนิติบุคคล มูลนิธิ องค์กรต่างๆ ก็จะเป็นการตรวจสอบกลไกตลาดอีกด้วย และตรวจได้ว่าสลากเหล่านี้ขายกันในราคาเท่าใด และสามารถรู้ได้ว่า รายย่อยมีการรับสลากไปขายต่อ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะทำให้สำนักงานสลากฯ สามารถดูราคาของ 2 กลุ่มนี้ได้ว่าขายไปให้กลุ่มไหน และมีการขายเกินราคากันเท่าไร