นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า สนช.ได้ปรึกษาหารือกันภายในว่า ในช่วงที่ยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธาน สนช. ควรที่จะมีการประชุมภายในหรือไม่ เห็นว่าหากจะให้มีการประชุม ก็ไม่ควรพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 วาระการเลือกนายกรัฐมนตรี ควรพิจารณาเฉพาะร่างข้อบังคับการประชุม สนช. ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือเรื่องการพ้นสมาชิกภาพของ สนช.ที่ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญกรณีไม่แสดงตนตามจำนวน โดยร่างที่สำนักเลขาธิการวุฒิสภาร่างมานั้น ยังไม่ได้ระบุชัดเจน ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าควรจะต้องตรวจสอบทุกเดือน และหากแสดงตัวไม่ถึง 1 ใน 4 ของจำนวนที่ลงมติ ให้ถือว่าพ้นสมาชิกภาพทันที พร้อมกันนี้ยังเห็นด้วยกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ให้ สนช.ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน โดยเปิดเผยเพื่อความโปร่งใส
นายวัลลภ กล่าวถึงการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีว่า ส่วนตัวเห็นว่า ควรใช้ข้อบังคับการประชุมปี 2549 โดยอนุโลม ซึ่งเทียบเคียงกับการเลือกประธาน สนช. แต่เสียงลงมติควรใช้ 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่ลงมติ เพราะถือเป็นครั้งแรกของการสรรหานายกรัฐมนตรีโดย สนช.
นอกจากนี้ นายวัลลภ กล่าวถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ว่า ได้เตรียมพร้อมสำหรับการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ เพราะได้รับร่างตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม ซึ่งเห็นว่ายังมีงบประมาณบางส่วนที่เคยมีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสในงบประมาณปี 2556 และ 2557 แต่ยังมีการจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้
นอกจากนี้ มีข้อสังเกตการจัดสรรงบประมาณของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาที่มีการจัดสรรให้จำนวนมากในการจ้างบริษัทที่ปรึกษามาประเมิน ในขณะที่คุณภาพการศึกษาของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ เชื่อว่า สนช.ได้ศึกษารายละเอียดและพร้อมสำหรับการชี้แจงแล้ว
นายวัลลภ กล่าวถึงการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีว่า ส่วนตัวเห็นว่า ควรใช้ข้อบังคับการประชุมปี 2549 โดยอนุโลม ซึ่งเทียบเคียงกับการเลือกประธาน สนช. แต่เสียงลงมติควรใช้ 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่ลงมติ เพราะถือเป็นครั้งแรกของการสรรหานายกรัฐมนตรีโดย สนช.
นอกจากนี้ นายวัลลภ กล่าวถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ว่า ได้เตรียมพร้อมสำหรับการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ เพราะได้รับร่างตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม ซึ่งเห็นว่ายังมีงบประมาณบางส่วนที่เคยมีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสในงบประมาณปี 2556 และ 2557 แต่ยังมีการจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้
นอกจากนี้ มีข้อสังเกตการจัดสรรงบประมาณของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาที่มีการจัดสรรให้จำนวนมากในการจ้างบริษัทที่ปรึกษามาประเมิน ในขณะที่คุณภาพการศึกษาของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ เชื่อว่า สนช.ได้ศึกษารายละเอียดและพร้อมสำหรับการชี้แจงแล้ว