นางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แถลงข่าวผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557 โดยระบุว่า ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ติดอันดับที่ 67 ของโลก ในแถบเอเชีย รองจากสิงคโปร์ บรูไน และมาเลเชีย เนื่องจากประเทศไทยพยายามขับเคลื่อนให้ผู้ใช้ในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์
นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เปิดเผยว่า ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557 พบว่า อินเทอร์เน็ตเพิ่มบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้นกว่าเดิมมาก โดยปี 2556 การใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 32.3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 4.6 ชั่วโมงต่อวัน/ ปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 50.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือใช้ประมาณ 7.2 ชั่วโมงต่อวัน หรือคนใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ของวัน เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มเพศที่สามมีจำนวนชั่วโมงการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 62.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ทั้งนี้ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทยมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา โดยในแต่ละช่วงเวลาจะมีพฤติกรรมการใช้ในอุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป โดยสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานสูงเกือบทั้งวัน เฉลี่ย 6.6 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนการใช้งานสมาร์ททีวี ในยุคทีวีดิจิตอลระยะเริ่มต้น พบว่ามีราว 8.4% ของผู้ตอบแบบสำรวจดังกล่าวที่ใช้อุปกรณ์นี้ และกลุ่มผู้ใช้งานมีการใช้งานเฉลี่ย 3.4 ชั่วโมงต่อวัน
ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความบันเทิง และการติดต่อสื่อสาร โดยกิจกรรมหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับหนึ่ง ใช้เพื่อการพูดคุยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ 78.2% อันดับสอง ใช้เพื่ออ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 57.6% และอันดับสาม ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล 56.5% ในขณะที่ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ ใช้อินเทอร์เน็ตในกิจกรรมที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูล โดยมีกิจกรรมหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับหนึ่ง ใช้เพื่อรับ-ส่งอีเมล์ 82.6% อันดับสอง ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล และอ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 73.3% และอันดับสาม ใช้เพื่ออ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 63.8%
พฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์ หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก 5 อันดับ เฟซบุ๊ก ครองแชมป์ด้วยสัดส่วน 93.7% ไลน์ 86.9% กูเกิลพลัส 34.5% อินสตาแกรม 34% และทวิตเตอร์ 16.1%
ส่วนพฤติกรรมฮิตตามกระแสที่สุ่มเสี่ยงโดยผู้ใช้ไม่รู้ตัว มีถึง 9 อันดับ โดยสิ่งที่เสี่ยงที่สุด คือ เช็กอินเพื่อบอกสถานที่ สูงถึง 71.5% แชร์รูปในสถานะสาธารณะ 70.7% โชว์สถานะเป็นสาธารณะ 62.3% ไม่เปลี่ยนรหัสผ่านทุก 3 เดือน 57.5% ให้ข้อมูลส่วนตัวกับเว็บไซต์ที่ใช้บริการ 45.8% ไม่กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล 36.4% ไม่ตรวจสอบการแชร์ ส่งต่อภาพ ข้อความก่อนส่งต่อ 9.9% และบอกรหัสผ่านให้กับผู้อื่น 8.1%
นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เปิดเผยว่า ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557 พบว่า อินเทอร์เน็ตเพิ่มบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้นกว่าเดิมมาก โดยปี 2556 การใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 32.3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 4.6 ชั่วโมงต่อวัน/ ปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 50.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือใช้ประมาณ 7.2 ชั่วโมงต่อวัน หรือคนใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ของวัน เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มเพศที่สามมีจำนวนชั่วโมงการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 62.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ทั้งนี้ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทยมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา โดยในแต่ละช่วงเวลาจะมีพฤติกรรมการใช้ในอุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป โดยสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานสูงเกือบทั้งวัน เฉลี่ย 6.6 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนการใช้งานสมาร์ททีวี ในยุคทีวีดิจิตอลระยะเริ่มต้น พบว่ามีราว 8.4% ของผู้ตอบแบบสำรวจดังกล่าวที่ใช้อุปกรณ์นี้ และกลุ่มผู้ใช้งานมีการใช้งานเฉลี่ย 3.4 ชั่วโมงต่อวัน
ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความบันเทิง และการติดต่อสื่อสาร โดยกิจกรรมหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับหนึ่ง ใช้เพื่อการพูดคุยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ 78.2% อันดับสอง ใช้เพื่ออ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 57.6% และอันดับสาม ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล 56.5% ในขณะที่ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ ใช้อินเทอร์เน็ตในกิจกรรมที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูล โดยมีกิจกรรมหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับหนึ่ง ใช้เพื่อรับ-ส่งอีเมล์ 82.6% อันดับสอง ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล และอ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 73.3% และอันดับสาม ใช้เพื่ออ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 63.8%
พฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์ หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก 5 อันดับ เฟซบุ๊ก ครองแชมป์ด้วยสัดส่วน 93.7% ไลน์ 86.9% กูเกิลพลัส 34.5% อินสตาแกรม 34% และทวิตเตอร์ 16.1%
ส่วนพฤติกรรมฮิตตามกระแสที่สุ่มเสี่ยงโดยผู้ใช้ไม่รู้ตัว มีถึง 9 อันดับ โดยสิ่งที่เสี่ยงที่สุด คือ เช็กอินเพื่อบอกสถานที่ สูงถึง 71.5% แชร์รูปในสถานะสาธารณะ 70.7% โชว์สถานะเป็นสาธารณะ 62.3% ไม่เปลี่ยนรหัสผ่านทุก 3 เดือน 57.5% ให้ข้อมูลส่วนตัวกับเว็บไซต์ที่ใช้บริการ 45.8% ไม่กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล 36.4% ไม่ตรวจสอบการแชร์ ส่งต่อภาพ ข้อความก่อนส่งต่อ 9.9% และบอกรหัสผ่านให้กับผู้อื่น 8.1%