นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้สำรองยาเวชภัณฑ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเพิ่มจาก 300,000 ชุด เป็น 500,000 ชุด เพื่อให้เพียงพอสำหรับการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน โดยจะจัดส่งให้ จ.อุบลราชธานี ซึ่งกำลังประสบภัยน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้จำนวน 30,000 ชุด
สำหรับเรื่องที่น่าห่วงในช่วงน้ำท่วมขัง คือ การเกิดอุบัติเหตุ ทำให้จมน้ำเสียชีวิตซึ่งพบได้ทุกปี ขอย้ำเตือนประชาชนไม่ควรลงเล่นน้ำในช่วงน้ำท่วม โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคลมชัก ต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้อยู่ตามลำพัง เนื่องจากหากเกิดเหตุจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และประการสำคัญไม่ควรดื่มสุรา เนื่องจากหากเมาจะขาดสติ ไม่มีการระมัดระวังตนเอง ทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้
สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพทางน้ำ เช่น หาปลา หรือต้องเข้าไปในพื้นที่น้ำท่วม ควรเตรียมอุปกรณ์ป้องกันการจมน้ำติดเรือไปด้วย เช่น ถังแกลลอน หรือขวดน้ำพลาสติกเปล่าปิดฝา ผลมะพร้าวแห้งมัดติดกัน ห่วงยาง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีน้ำหนักเบาจะช่วยพยุงลอยตัวในน้ำ หากเกิดอุบัติเหตุตกน้ำได้
ทางด้านนายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วม จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มลดลง โดยมี 2 อำเภอที่ได้รับผลกระทบหนักกว่าพื้นที่อื่นๆ คือ อ.พิบูลมังสาหาร และ อ.ตระการพืชผล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง วันละ 27 ทีม โดยระหว่างวันที่ 2-3 สิงหาคม ที่ผ่านมา มีผู้รับบริการทั้งสิ้น 1,789 ราย ส่วนใหญ่เจ็บป่วยทั่วไป พบมากคือ โรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด ไม่มีรายใดอาการรุนแรง ได้แจกยาชุดน้ำท่วมไปแล้ว ประมาณ 5,000 ชุด สถานบริการทุกแห่งเปิดให้บริการตามปกติ
สำหรับเรื่องที่น่าห่วงในช่วงน้ำท่วมขัง คือ การเกิดอุบัติเหตุ ทำให้จมน้ำเสียชีวิตซึ่งพบได้ทุกปี ขอย้ำเตือนประชาชนไม่ควรลงเล่นน้ำในช่วงน้ำท่วม โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคลมชัก ต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้อยู่ตามลำพัง เนื่องจากหากเกิดเหตุจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และประการสำคัญไม่ควรดื่มสุรา เนื่องจากหากเมาจะขาดสติ ไม่มีการระมัดระวังตนเอง ทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้
สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพทางน้ำ เช่น หาปลา หรือต้องเข้าไปในพื้นที่น้ำท่วม ควรเตรียมอุปกรณ์ป้องกันการจมน้ำติดเรือไปด้วย เช่น ถังแกลลอน หรือขวดน้ำพลาสติกเปล่าปิดฝา ผลมะพร้าวแห้งมัดติดกัน ห่วงยาง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีน้ำหนักเบาจะช่วยพยุงลอยตัวในน้ำ หากเกิดอุบัติเหตุตกน้ำได้
ทางด้านนายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วม จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มลดลง โดยมี 2 อำเภอที่ได้รับผลกระทบหนักกว่าพื้นที่อื่นๆ คือ อ.พิบูลมังสาหาร และ อ.ตระการพืชผล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง วันละ 27 ทีม โดยระหว่างวันที่ 2-3 สิงหาคม ที่ผ่านมา มีผู้รับบริการทั้งสิ้น 1,789 ราย ส่วนใหญ่เจ็บป่วยทั่วไป พบมากคือ โรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด ไม่มีรายใดอาการรุนแรง ได้แจกยาชุดน้ำท่วมไปแล้ว ประมาณ 5,000 ชุด สถานบริการทุกแห่งเปิดให้บริการตามปกติ