ศ. น.พ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในทวีปแอฟริกา ที่เริ่มจากประเทศกินีไปยังไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน ซึ่งอยู่ใกล้เคียง นับตั้งแต่เกิดการระบาดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตรวมแล้วถึง 672 คนว่า มีโอกาสน้อยที่เชื้ออีโบลาจะระบาดมาประเทศไทย เพราะแม้จะเป็นโรคระบาด และมีอัตราการเสียชีวิตสูงคือ อยู่ที่ร้อยละ 60-90 ของจำนวนผู้ป่วย แต่ว่าโรคนี้มีความรุนแรง และมีอาการป่วยอย่างชัดเจน ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ โดยจะสังเกตได้จากการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา จะค่อยๆ แผ่ออกไปยังประเทศข้างเคียงมากกว่าจะแพร่ระบาดข้ามทวีป
ส่วนการควบคุมและป้องกันโรค ภาครัฐจำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวดในการคัดกรอง และเฝ้าติดตามอาการผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค หรือประเทศข้างเคียง เนื่องจากเชื้อไวรัสอีโบลา มีระยะฟักตัวประมาณ 20 วัน และการติดเชื้อจะมาจากการสัมผัสสารคัดหลั่งโดยตรง เช่น เลือด น้ำมูก น้ำลาย โดยที่ไม่ได้มีการป้องกัน ขณะที่การรักษายังไม่มียาที่ใช้รักษาโดยตรง เป็นเพียงการรักษาตามอาการ ซึ่งผู้ป่วยจะมีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออกทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ซึ่งหากผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศในกลุ่มเสี่ยง และมีอาการที่สงสัยว่า อาจได้รับเชื้อให้รีบพบแพทย์ทันที
ส่วนการควบคุมและป้องกันโรค ภาครัฐจำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวดในการคัดกรอง และเฝ้าติดตามอาการผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค หรือประเทศข้างเคียง เนื่องจากเชื้อไวรัสอีโบลา มีระยะฟักตัวประมาณ 20 วัน และการติดเชื้อจะมาจากการสัมผัสสารคัดหลั่งโดยตรง เช่น เลือด น้ำมูก น้ำลาย โดยที่ไม่ได้มีการป้องกัน ขณะที่การรักษายังไม่มียาที่ใช้รักษาโดยตรง เป็นเพียงการรักษาตามอาการ ซึ่งผู้ป่วยจะมีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออกทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ซึ่งหากผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศในกลุ่มเสี่ยง และมีอาการที่สงสัยว่า อาจได้รับเชื้อให้รีบพบแพทย์ทันที