เป็นกรณีที่ยืดเยื้อมายาวนานหลังจาก กสทช. มีประกาศ เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. 2555 ที่กำหนดอัตราขั้นสูงไว้ไม่เกิน 99 สต./นาที โดยบังคับเฉพาะเจ้าใหญ่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) แต่ตลอดเวลาสองปีที่ผ่านมาพบว่าทั้งสองบริษัมยังคงฝ่าฝืน โดยมีการเรียกเก็บอัตราค่าบริการสูงเกินกว่าอัตราที่กำหนด ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้กำหนดอัตราค่าปรับผู้ประกอบกิจการทั้งสองรายวันละกว่า 3 แสนบาท หากยังคงมีการฝ่าฝืน โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า กรณีนี้เป็นความพยายามของ กสทช. ที่จะบังคับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ทั้งสองรายที่จะต้องกำหนดอัตราค่าบริการของบริการประเภทเสียงในระบบ 2G ไว้ที่กรอบไม่เกิน 99 สตางค์ต่อนาที ซึ่งมีการออกประกาศบังคับไว้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2555 โดยสาระสำคัญของประกาศกำหนดให้รายการส่งเสริมการขายบริการประเภทเสียงที่ออกใหม่ต้องไม่เกิน 99 สต. ส่วนรายการส่งเสริมการขายเดิมที่มีการใช้อยู่ก่อนแล้ว ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2555 เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นปี 2555 สำนักงาน กสทช. ยังคงตรวจพบว่ามีรายการส่งเสริมการขายที่เรียกเก็บค่าบริการเกินอัตราที่กำหนดถึง 99 รายการ แบ่งเป็นรายการส่งเสริมการขายของ AIS จำนวน 66 รายการ และ DTAC จำนวน 33 รายการ ซึ่งต่อมาสำนักงาน กสทช. ก็ได้ทำหนังสือแจ้งทั้งสองบริษัทให้ปฏิบัติตามประกาศ แต่ก็ได้รับคำชี้แจงว่า บางรายการที่ยังไม่สามารถระงับได้ในทันที เนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าเดิมยังใช้บริการอยู่
กระทั่งต้นปี 2557 สำนักงาน กสทช. ก็ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาศึกษาและกำหนดจำนวนค่าปรับทางปกครอง เพื่อกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่บริษัท AIS และ DTAC ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศ หลังจากนั้นสำนักงาน กสทช. ก็ได้ทำหนังสือลงวันที่ 25 เมษายน 2557 แจ้งเตือนทั้งสองบริษัทอีกครั้ง โดยได้มีการกำหนดค่าปรับทางปกครองให้ทราบหากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด คือวันที่ 16 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป แต่ปรากฏว่าทั้งสองบริษัทต่างยังทำการฝ่าฝืนต่อไป ดังนั้นล่าสุดนี้ สำนักงาน กสทช. โดยเลขาธิการฐากร ตัณฑสิทธิ์ จึงได้มีหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ให้บริษัท AIS ชำระค่าปรับในอัตราวันละ 186,669 บาท ส่วนบริษัท DTAC ชำระค่าปรับในอัตราวันละ 157,947 บาท
“ที่ผ่านมาบริษัทไม่ทำตาม โดยมีการคิดค่าบริการเกินอัตราขั้นสูงที่กำหนดมาโดยตลอด ซึ่งจากการที่สำนักงาน กสทช. ตรวจรายการส่งเสริมการขายก็พบ และยังมีกรณีที่ผู้ใช้บริการร้องเรียนเข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งที่ประชุม กทค. พิจารณาแล้วก็บอกว่าบริษัททำผิด ต้องคืนเงินที่คิดเกินให้ผู้ร้องเรียน เป็นการเยียวยาเฉพาะกรณีไป การสั่งปรับเพื่อบังคับให้บริษัททำให้ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะจะส่งผลคุ้มครองผู้บริโภคในภาพรวมมากกว่า อย่างไรก็ตาม คงต้องติดตามให้มีการปรับกันจริงๆ ด้วย แต่เราไม่ได้อยากได้เงิน เพียงแต่อยากให้เกิดสภาพการบังคับเพื่อให้บริษัทยอมปฏิบัติให้ถูกต้อง” นายประวิทย์กล่าว
กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนยังฝากคำแนะนำถึงผู้บริโภคด้วยว่า “หากพบว่ายังคงถูกคิดค่าบริการเกินก็สามารถโต้แย้งบริษัทได้ทันที เพราะเท่ากับเรื่องนี้ชี้ชัดแล้วว่าบริษัททำเช่นนั้นไม่ได้ เป็นการผิดกฎหมาย หรือหากโต้แย้งไม่เป็นผลก็สามารถร้องเรียนเข้ามาที่สำนักงาน กสทช. ได้”
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า กรณีนี้เป็นความพยายามของ กสทช. ที่จะบังคับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ทั้งสองรายที่จะต้องกำหนดอัตราค่าบริการของบริการประเภทเสียงในระบบ 2G ไว้ที่กรอบไม่เกิน 99 สตางค์ต่อนาที ซึ่งมีการออกประกาศบังคับไว้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2555 โดยสาระสำคัญของประกาศกำหนดให้รายการส่งเสริมการขายบริการประเภทเสียงที่ออกใหม่ต้องไม่เกิน 99 สต. ส่วนรายการส่งเสริมการขายเดิมที่มีการใช้อยู่ก่อนแล้ว ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2555 เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นปี 2555 สำนักงาน กสทช. ยังคงตรวจพบว่ามีรายการส่งเสริมการขายที่เรียกเก็บค่าบริการเกินอัตราที่กำหนดถึง 99 รายการ แบ่งเป็นรายการส่งเสริมการขายของ AIS จำนวน 66 รายการ และ DTAC จำนวน 33 รายการ ซึ่งต่อมาสำนักงาน กสทช. ก็ได้ทำหนังสือแจ้งทั้งสองบริษัทให้ปฏิบัติตามประกาศ แต่ก็ได้รับคำชี้แจงว่า บางรายการที่ยังไม่สามารถระงับได้ในทันที เนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าเดิมยังใช้บริการอยู่
กระทั่งต้นปี 2557 สำนักงาน กสทช. ก็ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาศึกษาและกำหนดจำนวนค่าปรับทางปกครอง เพื่อกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่บริษัท AIS และ DTAC ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศ หลังจากนั้นสำนักงาน กสทช. ก็ได้ทำหนังสือลงวันที่ 25 เมษายน 2557 แจ้งเตือนทั้งสองบริษัทอีกครั้ง โดยได้มีการกำหนดค่าปรับทางปกครองให้ทราบหากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด คือวันที่ 16 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป แต่ปรากฏว่าทั้งสองบริษัทต่างยังทำการฝ่าฝืนต่อไป ดังนั้นล่าสุดนี้ สำนักงาน กสทช. โดยเลขาธิการฐากร ตัณฑสิทธิ์ จึงได้มีหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ให้บริษัท AIS ชำระค่าปรับในอัตราวันละ 186,669 บาท ส่วนบริษัท DTAC ชำระค่าปรับในอัตราวันละ 157,947 บาท
“ที่ผ่านมาบริษัทไม่ทำตาม โดยมีการคิดค่าบริการเกินอัตราขั้นสูงที่กำหนดมาโดยตลอด ซึ่งจากการที่สำนักงาน กสทช. ตรวจรายการส่งเสริมการขายก็พบ และยังมีกรณีที่ผู้ใช้บริการร้องเรียนเข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งที่ประชุม กทค. พิจารณาแล้วก็บอกว่าบริษัททำผิด ต้องคืนเงินที่คิดเกินให้ผู้ร้องเรียน เป็นการเยียวยาเฉพาะกรณีไป การสั่งปรับเพื่อบังคับให้บริษัททำให้ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะจะส่งผลคุ้มครองผู้บริโภคในภาพรวมมากกว่า อย่างไรก็ตาม คงต้องติดตามให้มีการปรับกันจริงๆ ด้วย แต่เราไม่ได้อยากได้เงิน เพียงแต่อยากให้เกิดสภาพการบังคับเพื่อให้บริษัทยอมปฏิบัติให้ถูกต้อง” นายประวิทย์กล่าว
กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนยังฝากคำแนะนำถึงผู้บริโภคด้วยว่า “หากพบว่ายังคงถูกคิดค่าบริการเกินก็สามารถโต้แย้งบริษัทได้ทันที เพราะเท่ากับเรื่องนี้ชี้ชัดแล้วว่าบริษัททำเช่นนั้นไม่ได้ เป็นการผิดกฎหมาย หรือหากโต้แย้งไม่เป็นผลก็สามารถร้องเรียนเข้ามาที่สำนักงาน กสทช. ได้”