น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสว.กทม.โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ล่าสุด ระบุว่า จับโกหกคำสัมภาษณ์นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ในแทบลอยด์ ไทยโพสต์ วันอาทิตย์ที่20 กรกฎาคม 2557ในคำสัมภาษณ์ที่ว่า
" หากสังเกตดูจะเห็นว่าเรามีการโพสต์ชี้แจงทุกเรื่อง แต่ก็มีการลบออกและไปใส่ข้อมูลของเขาไป คนที่ตั้งใจบิดเบือนก็บิดเบือนไปเรื่อยๆ แต่คนที่บริโภคอินเทอร์เน็ต เด็กรุ่นใหม่เก่งมาก ผมเชื่อว่าการทำแบบฮิตเลอร์ โกหกคำโต โกหกไปเรื่อยๆ พูดมากจนกระทั่งเชื่อในสิ่งที่ตัวเองพูดไปแล้ว "
คนที่เล่นเฟสบุ๊คย่อมรู้ดีว่า ไม่มีใครสามารถลบโพสต์ที่เจ้าของเฟสบุ๊ค หรือเจ้าของเพจเขียนชี้แจงได้ ข้ออ้างของนายไพรินทร์จึงถูกตั้งคำถามกลับว่า นายไพรินทร์กำลังโกหกคำโตเหมือนที่ฮิตเลอร์ทำเสียเองหรือไม่? นายไพรินทร์ควรเข้าใจว่าประชาชนไม่ใช่ "หูกะทะ ตาไม้ไผ่ สมองกลวง" ที่จะเชื่อข้อมูลในอินเตอร์เน็ตที่ไร้สาระง่ายๆ นายไพรินทร์ไม่สงสัยบ้างหรือว่า การทุ่มทุนซื้อพื้นที่สื่อทุกชนิดด้วยเงินมหาศาล ทำโครงการCSRมากมาย
แต่ทำไมคนจึงไม่เชื่อปตท. เพราะคนที่เป็นวิญญูชน มีเหตุมีผล มีสามัญสำนึกย่อมรู้ว่าใครกำลังโกหกกันแน่
ข้อแก้ตัวของซีอีโอปตท. ที่ว่าปตท. ไม่ได้ผูกขาดตลาดน้ำมันดังคำสัมภาษณ์ที่ว่า
"…อย่างเรื่อง ปตท.ถูกกล่าวหาว่าผูกขาดน้ำมัน คือตลาดผู้ค้าน้ำมันในประเทศไทยปัจจุบันมีผู้ค้าน้ำมันมากมาย โดย ปตท.เป็นเพียงหนึ่งในผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 (ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่) ซึ่งมีทั้งหมด 41 ราย โดยส่วนแบ่งการตลาดของ ปตท.มีเพียง 39% ขณะที่บางจากมี 10%, เชลล์ 9%, คาลเท็กซ์ 7%, เอสโซ่ 10% และรายอื่นๆ อีก 25% นอกจากนี้ยังผู้ขายปลีกน้ำมัน (จ๊อบเบอร์) อีกมากมาย น้ำมันเป็นตลาดที่ไม่มีการควบคุมการนำเข้าและส่งออก มีการแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันค่ายน้ำมันต่างมีการจัดโปรโมชั่นแจกน้ำดื่มหรือของขบเคี้ยวเมื่อเติมน้ำมัน ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกได้ว่าจะใช้บริการจากค่ายน้ำมันไหน ดังนั้นจะบอกว่า ปตท.ผูกขาดตลาดไม่ได้"
ลองวิเคราะห์จากสิ่งที่นายไพรินทร์ให้สัมภาษณ์ ผู้ค้าตามมาตรา7 มี41ราย แต่มีเพียง5รายที่ครอบครองส่วนแบ่งตลาดค้าปลีกน้ำมันถึง 75%
ปตท.ครอบครอง39% ส่วน4รายใหญ่คือบางจาก, เชลล์, คาลเท็กซ์เอสโซ่ครอบครอง 36% ส่วนแบ่งตลาดอีก25%เป็นของผู้ค้าที่เหลืออีก 36ราย เฉลี่ยแต่ละรายได้ส่วนแบ่งตลาดไปแค่รายละ 0.7%เท่านั้น แต่ละรายมีส่วนแบ่งตลาดยังไม่ถึง1%ด้วยซ้ำไป ปตท.ยังกล่าวอ้างว่าตัวเองไม่ผูกขาด
ส่วนข้ออ้างที่ว่า "น้ำมันเป็นตลาดที่ไม่มีการควบคุมการนำเข้าและส่งออก" นั้น เป็นความจริงเฉพาะการส่งออกเท่านั้น
แต่การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปถึงแม้กฎหมายจะไม่มีข้อห้าม แต่การกำหนดมาตราฐานน้ำมันเป็นเกรดยูโร4 ในขณะที่ประเทศในอาเซียนรวมสิงคโปร์ ก็ใช้น้ำมันเกรดยูโร 2 ยูโร 3 เท่านั้น ทำให้การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปมาแข่งกับปตท.เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ดังเช่นในสมัยท่านนายกฯสมัคร สุนทรเวช เคยดำริจะสั่งนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปราคาถูก(เข้าใจว่าเป็นเกรดยูโร2 ยูโร3)จากรัสเซีย ในช่วงที่น้ำมันในไทยราคาแพงมาก แต่รัฐบาลสมัยนั้นก็ไม่สามารถทำได้ เพราะติดขัดด้วยข้อกำหนดมาตรฐานน้ำมันดังกล่าว
มีผู้ใหญ่ในวงการธุรกิจน้ำมันบางท่านเคยบอกแก่ดิฉันว่า มาตราฐานน้ำมันเกรดยูโร4 เป็นกลยุทธ์หนึ่ง ที่ใช้ในการกีดกันคู่แข่งทางการค้า ที่ไม่ใช่มาตราการทางภาษี(หรือเรียกว่า Non Tariff Barrier) ท่านยังบอกให้ดิฉันตาสว่างอีกว่า นี่แหละที่เขาเรียกว่า" Quality Give Away Policy " คือกำหนดมาตราฐานแบบเสียเปล่า แต่เป็นเงินจากกระเป๋าประชาชนคนไทยที่เสียเปล่า เพราะเวลาส่งออกน้ำมันเกรดยูโร 4 ต้องขายถูกๆในราคายูโร2เท่านั้น เคยมีข้าราชการระดับอธิบดีในกระทรวงพลังงานกล่าวชี้แจงในกรรมาธิการฯว่า "น้ำมันที่ส่งออกต้องขายถูกๆเหมือนขายขยะ" เพราะต่างประเทศเขาต้องการน้ำมันแค่เกรดยูโร2 เราจึงต้องส่งออกน้ำมันเกรดยูโร4ในราคายูโร2 จากที่ผลิตได้ล้นเกินในประเทศประมาณวันละ 200,000 บาร์เรลหรือ 31.8ล้านลิตร ควรเรียกว่าเราทำประชานิยมช่วยเหลือเพื่อนบ้านทั้งอาเซียน ยกเว้นคนไทยที่ต้องแบกรับราคาน้ำมันแพงเพื่อช่วยให้บริษัทพลังงานทำประชานิยม หรือ Cost Subsidy ให้เพื่อนบ้านในราคาส่งออกน้ำมันแบบขยะที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ใช่หรือไม่?
ที่กล่าวกันว่าน้ำมันสามารถนำเข้าโดยเสรี แต่ถ้าต้องนำเข้าน้ำมันเกรดยูโร 4 ก็ต้องสั่งผลิตเป็นล็อตพิเศษ ซึ่งราคาต้องแพงพิเศษด้วยเช่นกัน แล้วจะมีใครกล้านำเข้าน้ำมันมาแข่งกับปตท.?
ดังนั้นคำกล่าวอ้างว่าตลาดน้ำมันในไทยเป็นตลาดเสรีที่ไม่มีการควบคุมการนำเข้าและส่งออก เป็นตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ จึงเป็นเพียงความจริงทางทฤษฎีครึ่งเดียว แต่ในทางปฏิบัติจริงประเทศไทยในปัจจุบันเป็นผู้ส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน และไม่มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปมานานแล้ว
คนที่กล่าวอ้างว่าตนเองเชื่อเรื่องโลกกลม แต่กลับพยายามให้ประชาชนเชื่อข้อมูลพลังงานเพียงด้านเดียว ซึ่งไม่ต่างจากการทำให้คนทั่วไปเชื่อว่าโลกแบน
" หากสังเกตดูจะเห็นว่าเรามีการโพสต์ชี้แจงทุกเรื่อง แต่ก็มีการลบออกและไปใส่ข้อมูลของเขาไป คนที่ตั้งใจบิดเบือนก็บิดเบือนไปเรื่อยๆ แต่คนที่บริโภคอินเทอร์เน็ต เด็กรุ่นใหม่เก่งมาก ผมเชื่อว่าการทำแบบฮิตเลอร์ โกหกคำโต โกหกไปเรื่อยๆ พูดมากจนกระทั่งเชื่อในสิ่งที่ตัวเองพูดไปแล้ว "
คนที่เล่นเฟสบุ๊คย่อมรู้ดีว่า ไม่มีใครสามารถลบโพสต์ที่เจ้าของเฟสบุ๊ค หรือเจ้าของเพจเขียนชี้แจงได้ ข้ออ้างของนายไพรินทร์จึงถูกตั้งคำถามกลับว่า นายไพรินทร์กำลังโกหกคำโตเหมือนที่ฮิตเลอร์ทำเสียเองหรือไม่? นายไพรินทร์ควรเข้าใจว่าประชาชนไม่ใช่ "หูกะทะ ตาไม้ไผ่ สมองกลวง" ที่จะเชื่อข้อมูลในอินเตอร์เน็ตที่ไร้สาระง่ายๆ นายไพรินทร์ไม่สงสัยบ้างหรือว่า การทุ่มทุนซื้อพื้นที่สื่อทุกชนิดด้วยเงินมหาศาล ทำโครงการCSRมากมาย
แต่ทำไมคนจึงไม่เชื่อปตท. เพราะคนที่เป็นวิญญูชน มีเหตุมีผล มีสามัญสำนึกย่อมรู้ว่าใครกำลังโกหกกันแน่
ข้อแก้ตัวของซีอีโอปตท. ที่ว่าปตท. ไม่ได้ผูกขาดตลาดน้ำมันดังคำสัมภาษณ์ที่ว่า
"…อย่างเรื่อง ปตท.ถูกกล่าวหาว่าผูกขาดน้ำมัน คือตลาดผู้ค้าน้ำมันในประเทศไทยปัจจุบันมีผู้ค้าน้ำมันมากมาย โดย ปตท.เป็นเพียงหนึ่งในผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 (ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่) ซึ่งมีทั้งหมด 41 ราย โดยส่วนแบ่งการตลาดของ ปตท.มีเพียง 39% ขณะที่บางจากมี 10%, เชลล์ 9%, คาลเท็กซ์ 7%, เอสโซ่ 10% และรายอื่นๆ อีก 25% นอกจากนี้ยังผู้ขายปลีกน้ำมัน (จ๊อบเบอร์) อีกมากมาย น้ำมันเป็นตลาดที่ไม่มีการควบคุมการนำเข้าและส่งออก มีการแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันค่ายน้ำมันต่างมีการจัดโปรโมชั่นแจกน้ำดื่มหรือของขบเคี้ยวเมื่อเติมน้ำมัน ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกได้ว่าจะใช้บริการจากค่ายน้ำมันไหน ดังนั้นจะบอกว่า ปตท.ผูกขาดตลาดไม่ได้"
ลองวิเคราะห์จากสิ่งที่นายไพรินทร์ให้สัมภาษณ์ ผู้ค้าตามมาตรา7 มี41ราย แต่มีเพียง5รายที่ครอบครองส่วนแบ่งตลาดค้าปลีกน้ำมันถึง 75%
ปตท.ครอบครอง39% ส่วน4รายใหญ่คือบางจาก, เชลล์, คาลเท็กซ์เอสโซ่ครอบครอง 36% ส่วนแบ่งตลาดอีก25%เป็นของผู้ค้าที่เหลืออีก 36ราย เฉลี่ยแต่ละรายได้ส่วนแบ่งตลาดไปแค่รายละ 0.7%เท่านั้น แต่ละรายมีส่วนแบ่งตลาดยังไม่ถึง1%ด้วยซ้ำไป ปตท.ยังกล่าวอ้างว่าตัวเองไม่ผูกขาด
ส่วนข้ออ้างที่ว่า "น้ำมันเป็นตลาดที่ไม่มีการควบคุมการนำเข้าและส่งออก" นั้น เป็นความจริงเฉพาะการส่งออกเท่านั้น
แต่การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปถึงแม้กฎหมายจะไม่มีข้อห้าม แต่การกำหนดมาตราฐานน้ำมันเป็นเกรดยูโร4 ในขณะที่ประเทศในอาเซียนรวมสิงคโปร์ ก็ใช้น้ำมันเกรดยูโร 2 ยูโร 3 เท่านั้น ทำให้การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปมาแข่งกับปตท.เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ดังเช่นในสมัยท่านนายกฯสมัคร สุนทรเวช เคยดำริจะสั่งนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปราคาถูก(เข้าใจว่าเป็นเกรดยูโร2 ยูโร3)จากรัสเซีย ในช่วงที่น้ำมันในไทยราคาแพงมาก แต่รัฐบาลสมัยนั้นก็ไม่สามารถทำได้ เพราะติดขัดด้วยข้อกำหนดมาตรฐานน้ำมันดังกล่าว
มีผู้ใหญ่ในวงการธุรกิจน้ำมันบางท่านเคยบอกแก่ดิฉันว่า มาตราฐานน้ำมันเกรดยูโร4 เป็นกลยุทธ์หนึ่ง ที่ใช้ในการกีดกันคู่แข่งทางการค้า ที่ไม่ใช่มาตราการทางภาษี(หรือเรียกว่า Non Tariff Barrier) ท่านยังบอกให้ดิฉันตาสว่างอีกว่า นี่แหละที่เขาเรียกว่า" Quality Give Away Policy " คือกำหนดมาตราฐานแบบเสียเปล่า แต่เป็นเงินจากกระเป๋าประชาชนคนไทยที่เสียเปล่า เพราะเวลาส่งออกน้ำมันเกรดยูโร 4 ต้องขายถูกๆในราคายูโร2เท่านั้น เคยมีข้าราชการระดับอธิบดีในกระทรวงพลังงานกล่าวชี้แจงในกรรมาธิการฯว่า "น้ำมันที่ส่งออกต้องขายถูกๆเหมือนขายขยะ" เพราะต่างประเทศเขาต้องการน้ำมันแค่เกรดยูโร2 เราจึงต้องส่งออกน้ำมันเกรดยูโร4ในราคายูโร2 จากที่ผลิตได้ล้นเกินในประเทศประมาณวันละ 200,000 บาร์เรลหรือ 31.8ล้านลิตร ควรเรียกว่าเราทำประชานิยมช่วยเหลือเพื่อนบ้านทั้งอาเซียน ยกเว้นคนไทยที่ต้องแบกรับราคาน้ำมันแพงเพื่อช่วยให้บริษัทพลังงานทำประชานิยม หรือ Cost Subsidy ให้เพื่อนบ้านในราคาส่งออกน้ำมันแบบขยะที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ใช่หรือไม่?
ที่กล่าวกันว่าน้ำมันสามารถนำเข้าโดยเสรี แต่ถ้าต้องนำเข้าน้ำมันเกรดยูโร 4 ก็ต้องสั่งผลิตเป็นล็อตพิเศษ ซึ่งราคาต้องแพงพิเศษด้วยเช่นกัน แล้วจะมีใครกล้านำเข้าน้ำมันมาแข่งกับปตท.?
ดังนั้นคำกล่าวอ้างว่าตลาดน้ำมันในไทยเป็นตลาดเสรีที่ไม่มีการควบคุมการนำเข้าและส่งออก เป็นตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ จึงเป็นเพียงความจริงทางทฤษฎีครึ่งเดียว แต่ในทางปฏิบัติจริงประเทศไทยในปัจจุบันเป็นผู้ส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน และไม่มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปมานานแล้ว
คนที่กล่าวอ้างว่าตนเองเชื่อเรื่องโลกกลม แต่กลับพยายามให้ประชาชนเชื่อข้อมูลพลังงานเพียงด้านเดียว ซึ่งไม่ต่างจากการทำให้คนทั่วไปเชื่อว่าโลกแบน