ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา นายวิษณุ เครืองาม และนายพรเพชร วิชิตชลชัย ร่วมแถลงชี้แจงรายละเอียดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว ปี 2557
สาระสำคัญของการแถลงดังกล่าว ได้ชี้แจงถึงหลักการในการยกร่าง เพื่อให้มีกติกาบ้านเมืองตามหลักนิติรัฐ และเพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการตามแผนโรดแมปที่ คสช.วางไว้ หลังรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับแล้ว ทั้งการจัดตั้งสภานิติบัญญัติ (สนช.) การจัดตั้งคณะรัฐมนตรี สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร
ทั้งนี้ ฝ่ายกฎหมายฯ คสช.ยอมรับถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่เข้มงวด เคร่งครัด แต่เป็นไปเพื่อป้องกันการสูญเปล่าของการทำรัฐประหาร และเพื่อให้การปฏิรูปประเทศบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้
โดยมาตรา 44 ว่าด้วยการบัญญัติอำนาจหน้าที่ของ คสช.ที่ถูกตั้งข้อสังเกตและวิพากษ์วิจารณ์นั้น ฝ่ายกฎหมายฯ ชี้แจงถึงเจตนารมณ์ที่ต้องการให้อำนาจ คสช.ดำเนินการสร้างบรรยากาศบ้านเมืองให้เอื้อต่อการปฏิรูป ป้องกันปัญหาความขัดแย้ง รุนแรง ที่อาจกระทบต่อการปฏิรูปประเทศ โดยปฏิเสธเจตนาที่จะคงอำนาจอยู่เหนือฝ่ายบริหาร หรือคณะรัฐมนตรี โดยการบัญญัติให้อำนาจพิเศษ คสช.ที่จะหยิบยกมาใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น
สาระสำคัญของการแถลงดังกล่าว ได้ชี้แจงถึงหลักการในการยกร่าง เพื่อให้มีกติกาบ้านเมืองตามหลักนิติรัฐ และเพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการตามแผนโรดแมปที่ คสช.วางไว้ หลังรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับแล้ว ทั้งการจัดตั้งสภานิติบัญญัติ (สนช.) การจัดตั้งคณะรัฐมนตรี สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร
ทั้งนี้ ฝ่ายกฎหมายฯ คสช.ยอมรับถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่เข้มงวด เคร่งครัด แต่เป็นไปเพื่อป้องกันการสูญเปล่าของการทำรัฐประหาร และเพื่อให้การปฏิรูปประเทศบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้
โดยมาตรา 44 ว่าด้วยการบัญญัติอำนาจหน้าที่ของ คสช.ที่ถูกตั้งข้อสังเกตและวิพากษ์วิจารณ์นั้น ฝ่ายกฎหมายฯ ชี้แจงถึงเจตนารมณ์ที่ต้องการให้อำนาจ คสช.ดำเนินการสร้างบรรยากาศบ้านเมืองให้เอื้อต่อการปฏิรูป ป้องกันปัญหาความขัดแย้ง รุนแรง ที่อาจกระทบต่อการปฏิรูปประเทศ โดยปฏิเสธเจตนาที่จะคงอำนาจอยู่เหนือฝ่ายบริหาร หรือคณะรัฐมนตรี โดยการบัญญัติให้อำนาจพิเศษ คสช.ที่จะหยิบยกมาใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น