นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้เห็นชอบให้ไทยลงนามในร่างพิธีสารแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ หรือ เอเอเอ็นแซดเอฟทีเอ (AANZFTA) ที่ได้มีการปรับปรุงสาระสำคัญในด้านการค้าสินค้าให้มีความทันสมัยและอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจเพิ่มมากขึ้นก่อนที่จะประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในเดือนสิงหาคมนี้ ที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
ทั้งนี้ อาเซียนได้ทำข้อตกลงเอฟทีเอกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มาตั้งแต่ปี 53 และได้เห็นชอบร่วมกันว่า จะต้องมีการปรับปรุงการเปิดเสรีในด้านการค้าเพื่อให้มีการอำนวยความสะดวกต่อการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยได้มีการปรับปรุงกฎถิ่นกำเนิดสินค้าฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงพิกัดอัตราศุลกากรครั้งล่าสุด ซึ่งบัญชีกฎถิ่นกำเนิดสินค้าฉบับใหม่นี้จะแสดงพิกัดอัตราศุลกากรทุกรายการ ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถค้นหารายละเอียดของสินค้าต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขณะเดียวกัน ได้แก้ไขระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อขอรับอัตราภาษีพิเศษด้วย โดยข้อมูลที่ผู้ประกอบการต้องแสดงเพื่อขอรับอัตราภาษีพิเศษมีน้อยลง และผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องแจ้งราคาสินค้า ณ ท่าเรือต้นทาง หากสินค้าดังกล่าวไม่ได้ผลิตโดยการสะสมมูลค่าถิ่นกำเนิดซึ่งจะช่วยในการรักษาความลับทางธุรกิจของผู้ประกอบการและเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้าในปัจจุบัน
สำหรับความตกลง AANZFTA มีผลบังคับใช้มากว่า 4 ปี โดยมูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยกับประเทศภาคีความตกลง ได้ขยายตัวจาก 70,444ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 52 เป็นมูลค่า 117,065 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 56 หรือปรับขึ้นร้อยละ 66.18 และในปี 56 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามูลค่า 20,223 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 22.81
ทั้งนี้ อาเซียนได้ทำข้อตกลงเอฟทีเอกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มาตั้งแต่ปี 53 และได้เห็นชอบร่วมกันว่า จะต้องมีการปรับปรุงการเปิดเสรีในด้านการค้าเพื่อให้มีการอำนวยความสะดวกต่อการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยได้มีการปรับปรุงกฎถิ่นกำเนิดสินค้าฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงพิกัดอัตราศุลกากรครั้งล่าสุด ซึ่งบัญชีกฎถิ่นกำเนิดสินค้าฉบับใหม่นี้จะแสดงพิกัดอัตราศุลกากรทุกรายการ ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถค้นหารายละเอียดของสินค้าต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขณะเดียวกัน ได้แก้ไขระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อขอรับอัตราภาษีพิเศษด้วย โดยข้อมูลที่ผู้ประกอบการต้องแสดงเพื่อขอรับอัตราภาษีพิเศษมีน้อยลง และผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องแจ้งราคาสินค้า ณ ท่าเรือต้นทาง หากสินค้าดังกล่าวไม่ได้ผลิตโดยการสะสมมูลค่าถิ่นกำเนิดซึ่งจะช่วยในการรักษาความลับทางธุรกิจของผู้ประกอบการและเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้าในปัจจุบัน
สำหรับความตกลง AANZFTA มีผลบังคับใช้มากว่า 4 ปี โดยมูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยกับประเทศภาคีความตกลง ได้ขยายตัวจาก 70,444ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 52 เป็นมูลค่า 117,065 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 56 หรือปรับขึ้นร้อยละ 66.18 และในปี 56 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามูลค่า 20,223 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 22.81