แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรมสุขภาพจิต มี 2 ภารกิจ ในการสนับสนุนกระบวนการปรองดองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้แก่ ภารกิจการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ในเรื่องร่างกายและจิตใจ ทั้งผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง และครอบครัว ซึ่งกรมสุขภาพจิตมีคณะทำงานเรียกว่า เอ็ม-แคทท์ (MCATT : Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team) ทำหน้าที่ติดตามดูแลสุขภาพจิต ของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีจำนวนกว่า 863 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 28 ราย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ที่ได้รับการเยียวยาแล้วจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โดยจะร่วมบูรณาการกับภาคสังคม ในการเยียวยาทางด้านจิตใจ ประกอบด้วย 2 เรื่องหลัก คือ ความกังวลจากการบาดเจ็บทางร่างกาย และความรู้สึกภายในใจ ว่า เหตุใดจึงถูกทำร้าย
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ตั้งทีมเพื่อลดความรู้สึกหลังจากได้รับผลกระทบจากการชุมนุม และภารกิจในการจัดเวทีพูดคุย ทำความเข้าใจ เพื่อให้สามารถไว้วางใจต่อผู้คนรอบข้าง เชื่อว่าทุกคนอยากเห็นการปฏิรูป การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น โดยยอมรับว่าไม่สามารถทำให้ความขัดแย้งจบลงได้ในเวลาสั้นๆ ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อที่สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ตั้งทีมเพื่อลดความรู้สึกหลังจากได้รับผลกระทบจากการชุมนุม และภารกิจในการจัดเวทีพูดคุย ทำความเข้าใจ เพื่อให้สามารถไว้วางใจต่อผู้คนรอบข้าง เชื่อว่าทุกคนอยากเห็นการปฏิรูป การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น โดยยอมรับว่าไม่สามารถทำให้ความขัดแย้งจบลงได้ในเวลาสั้นๆ ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อที่สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง