ศ.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า การเกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาด 4.6 ตามมาตราริกเตอร์ที่ จ.เชียงราย เป็นการเกิดอาฟเตอร์ช็อกในแนวรอยเลื่อนเดิมที่เคยเกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม และยืนยันว่าการเกิดอาฟเตอร์ช็อกกว่า 1,000 ครั้ง ในขณะนี้นับเป็นเรื่องปกติ เมื่อเทียบกับแผ่นดินไหวขนาด 5.3 ตามมาตราริกเตอร์ที่ จ.ภูเก็ต เมื่อปี 2553 จำนวนอาฟเตอร์ช็อก จ.เชียงราย มากกว่า เพราะว่าแผ่นดินไหวที่เชียงราย เกิดจากแนวรอยเลื่อนหลายรอยที่อยู่ใกล้กัน
ทั้งนี้ สิ่งที่กังวลใจหลังจากไปสำรวจแนวรอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่ จ.เชียงราย คืออาจจะมีแนวรอยเลื่อนใหม่ใกล้ๆ กับสนามบินเชียงราย ซึ่งนักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องไปตรวจสอบอีกครั้งว่าใช่แนวรอยเลื่อนหรือไม่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
ทั้งนี้ สิ่งที่กังวลใจหลังจากไปสำรวจแนวรอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่ จ.เชียงราย คืออาจจะมีแนวรอยเลื่อนใหม่ใกล้ๆ กับสนามบินเชียงราย ซึ่งนักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องไปตรวจสอบอีกครั้งว่าใช่แนวรอยเลื่อนหรือไม่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน