ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 72/2557
เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในส่วนของกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงสมควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนุญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2554 ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ให้ยกเลิกความในมาตรา 103/12 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 103/12 ในการแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่ง มีจำนวน 5 คน ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ประกอบด้วย บุคคลดังต่อไปนี้
1.รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.มอบหมาย
2.อัยการจังหวัด
3.ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัด
4.ผู้อำนวยการสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด
5.รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดฝ่ายทหาร ในกรณีที่มีกรรมการสรรหาตามวรรค 1 ไม่ครบจำนวน ให้ดำเนินการไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด ให้รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานกรรมการสรรหา ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด เป็นเลขานุการของคณะกรรมการสรรหา
ข้อ 2.ให้ยกเลิกความในมาตรา 103/18 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 103/18 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในเขตจังหวัดดังนี้
1.ส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยประสานความร่วมมือกับประชาชน และส่วนราชการ เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนในทุกระดับ ได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการทุจริต โดยดำเนินการเพื่อการป้องกันการทุจริต และเสริมสร้างทัศนคติ และค่านิยม เกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งดำเนินการให้ประชาชน หรือกลุ่มบุคคลในทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต
2.พิจารณาเสนอมาตรการความเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต
3.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด หรือผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด มีอำนาจลงนามในหนังสือ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ได้
ข้อ 3.การสรรหา คัดเลือก และแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ที่ได้ดำเนินการไปแล้วเป็นอันใช้ได้ ส่วนที่อยู่ระหว่างดำเนินการคัดเลือก และแต่งตั้งของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ชะลอไว้ก่อน จนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในส่วนของกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงสมควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนุญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2554 ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ให้ยกเลิกความในมาตรา 103/12 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 103/12 ในการแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่ง มีจำนวน 5 คน ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ประกอบด้วย บุคคลดังต่อไปนี้
1.รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.มอบหมาย
2.อัยการจังหวัด
3.ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัด
4.ผู้อำนวยการสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด
5.รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดฝ่ายทหาร ในกรณีที่มีกรรมการสรรหาตามวรรค 1 ไม่ครบจำนวน ให้ดำเนินการไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด ให้รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานกรรมการสรรหา ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด เป็นเลขานุการของคณะกรรมการสรรหา
ข้อ 2.ให้ยกเลิกความในมาตรา 103/18 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 103/18 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในเขตจังหวัดดังนี้
1.ส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยประสานความร่วมมือกับประชาชน และส่วนราชการ เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนในทุกระดับ ได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการทุจริต โดยดำเนินการเพื่อการป้องกันการทุจริต และเสริมสร้างทัศนคติ และค่านิยม เกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งดำเนินการให้ประชาชน หรือกลุ่มบุคคลในทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต
2.พิจารณาเสนอมาตรการความเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต
3.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด หรือผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด มีอำนาจลงนามในหนังสือ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ได้
ข้อ 3.การสรรหา คัดเลือก และแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ที่ได้ดำเนินการไปแล้วเป็นอันใช้ได้ ส่วนที่อยู่ระหว่างดำเนินการคัดเลือก และแต่งตั้งของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ชะลอไว้ก่อน จนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ