นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกต.มีมติรับคำร้องกรณีที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกทีวีเฉพาะกิจเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งเป็นการพูดภายหลังการประกาศยุบสภาแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวน ส่วนคำร้องคัดค้าน นางสาวยิ่งลักษณ์ กรณีลงพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือ โดยใช้ทรัพยากรของรัฐ ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาการเรียกเอกสารจากหน่วยราชการ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปทำงานที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้ ขณะนี้ กกต.ได้เอกสารต่างๆ ครบแล้ว เหลือเพียงสอบพยานในพื้นที่ต่างจังหวัดจำนวนหนึ่งเท่านั้น
“กกต.มีมติรับเรื่องที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง11) นำนักการเมือง 19 คน และข้าราชการประจำ2 คน ไปออกรายการช่วงที่มี พ.ร.ฎ.ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ไว้พิจารณาแล้ว กกต.จะเร่งรัดทั้ง 3 เรื่องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากเป็นกรณีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน คาดว่าทุกเรื่องน่าจะลงมติวินิจฉัยได้ภายในเดือน ส.ค.นี้”
ด้านนายภุชงค์ นุตราวงค์ เลขาธิการกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เปิดเผยว่า จากการรับสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีการตรวจสอบพบว่า มีผู้สมัครบางส่วนยื่นสมัครด้วยข้อความอันเป็นเท็จ และมีคุณสมบัติต้องห้าม เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและมีความผิดทางอาญา กกต. จึงจะดำเนินการตรวจสอบผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1,174 คน จาก 53 พรรคการเมือง ว่ามีผู้สมัครรายใดเข้าข่ายความผิดบ้าง ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง หากพบว่ามี กรรมการบริหารพรรค ละเลย เห็นด้วย หรือเพิกเฉยต่อการกระทำดังกล่าว จะถือว่ามีความผิดด้วย และอาจพิจารณาถึงขั้นยุบพรรคได้
“กกต.มีมติรับเรื่องที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง11) นำนักการเมือง 19 คน และข้าราชการประจำ2 คน ไปออกรายการช่วงที่มี พ.ร.ฎ.ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ไว้พิจารณาแล้ว กกต.จะเร่งรัดทั้ง 3 เรื่องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากเป็นกรณีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน คาดว่าทุกเรื่องน่าจะลงมติวินิจฉัยได้ภายในเดือน ส.ค.นี้”
ด้านนายภุชงค์ นุตราวงค์ เลขาธิการกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เปิดเผยว่า จากการรับสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีการตรวจสอบพบว่า มีผู้สมัครบางส่วนยื่นสมัครด้วยข้อความอันเป็นเท็จ และมีคุณสมบัติต้องห้าม เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและมีความผิดทางอาญา กกต. จึงจะดำเนินการตรวจสอบผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1,174 คน จาก 53 พรรคการเมือง ว่ามีผู้สมัครรายใดเข้าข่ายความผิดบ้าง ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง หากพบว่ามี กรรมการบริหารพรรค ละเลย เห็นด้วย หรือเพิกเฉยต่อการกระทำดังกล่าว จะถือว่ามีความผิดด้วย และอาจพิจารณาถึงขั้นยุบพรรคได้