นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ ในโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ว่า ที่ประชุมร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีนายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน มีมติเห็นชอบเพิ่มกรอบวงเงินเงินกู้ในโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยปรับกรอบวงเงินเพิ่มทั้ง 3 สัญญา รวม 8,140 ล้านบาท
โดยสัญญาที่ 1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ และอาคารซ่อมบำรุง ขอเพิ่มวงเงินอีก 4,315 ล้านบาท จากวงเงินเดิม 29,826 ล้านบาท สัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟช่วงบางซื่อ - รังสิต ระยะทาง 21 กิโลเมตร วงเงิน 21,235 ล้านบาท ขอเพิ่มวงเงินอีก 3,352 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 28,899 ล้านบาท เพิ่มอีก 473 ล้านบาท
สำหรับรายละเอียดการปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ จะมีการปรับแบบชานชาลาให้มีความยาวเพิ่มขึ้น จากความยาว ประมาณ 200 เมตร เป็นประมาณ 600 เมตร เพื่อรองรับขบวนรถไฟที่ยาวขึ้น โดยจะมีการก่อสร้างทางรถไฟแบบยกระดับจากสถานีกลางบางซื่อ ถึงสถานีรังสิต จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณทางผ่านรถไฟ และเพิ่มการก่อสร้างเป็น 3 ชั้น โดยชั้นที่ 2 จะให้บริการรถไฟธรรมดา และรถไฟชานเมืองรองรับรางรถไฟขนาด 1 เมตร ส่วนชั้นที่ 3 ให้บริการรถไฟความเร็วสูง และแอร์พอร์ตลิงก์ รองรับรางรถไฟขนาด 1.435 เมตร
ทั้งนี้ คาดว่า จะเสนอรายละเอียดทั้งหมดต่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาได้ในสัปดาห์ต่อไป พร้อมยืนยันว่าจะยังไม่มีการยกเลิกการใช้บริการขบวนรถไฟแบบดีเซล ซึ่งยังคงให้บริการควบคู่กันไป
โดยสัญญาที่ 1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ และอาคารซ่อมบำรุง ขอเพิ่มวงเงินอีก 4,315 ล้านบาท จากวงเงินเดิม 29,826 ล้านบาท สัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟช่วงบางซื่อ - รังสิต ระยะทาง 21 กิโลเมตร วงเงิน 21,235 ล้านบาท ขอเพิ่มวงเงินอีก 3,352 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 28,899 ล้านบาท เพิ่มอีก 473 ล้านบาท
สำหรับรายละเอียดการปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ จะมีการปรับแบบชานชาลาให้มีความยาวเพิ่มขึ้น จากความยาว ประมาณ 200 เมตร เป็นประมาณ 600 เมตร เพื่อรองรับขบวนรถไฟที่ยาวขึ้น โดยจะมีการก่อสร้างทางรถไฟแบบยกระดับจากสถานีกลางบางซื่อ ถึงสถานีรังสิต จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณทางผ่านรถไฟ และเพิ่มการก่อสร้างเป็น 3 ชั้น โดยชั้นที่ 2 จะให้บริการรถไฟธรรมดา และรถไฟชานเมืองรองรับรางรถไฟขนาด 1 เมตร ส่วนชั้นที่ 3 ให้บริการรถไฟความเร็วสูง และแอร์พอร์ตลิงก์ รองรับรางรถไฟขนาด 1.435 เมตร
ทั้งนี้ คาดว่า จะเสนอรายละเอียดทั้งหมดต่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาได้ในสัปดาห์ต่อไป พร้อมยืนยันว่าจะยังไม่มีการยกเลิกการใช้บริการขบวนรถไฟแบบดีเซล ซึ่งยังคงให้บริการควบคู่กันไป