นายเกียรติ สิทธีอมร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตผู้แทนการค้าไทย กล่าวถึงท่าทีของสหภาพยุโรป (อียู) ต่อประเทศไทยภายหลังมีเหตุรัฐประหารว่า โดยหลักการไม่ได้เกินจากความคาดหวังที่อียูจะมีท่าทีแบบนี้ ซึ่งท่าทีเหล่านี้เป็นเพียงท่าทีของคณะกรรมาธิการการต่างประเทศเท่านั้น ไม่ได้เป็นท่าทีรัฐบาล โดยประเด็นที่มีการแสดงท่าที อาทิ เรื่องการลงหุ้นส่วนที่ตกลงกันแล้ว จึงไม่แปลกใจเรื่องนี้ที่มีท่าแบบนี้ จึงอยู่ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลชุดใหม่จะทำความเข้าใจได้มากแค่ไหน เชื่อว่าถ้าอธิบายให้เข้าใจพร้อมนำหลักฐานไปแสดงจะเกิดความเข้าใจได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศของไทยต้องเร่งอธิบายเหตุผลว่ามีการดำเนินการเพราะอะไร และระหว่างนี้จะดำเนินการอะไรบ้างเพื่อให้ประชาธิปไตยดีขึ้น
ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ของอียูยังมีส่วนดีและเป็นบวกที่มีการพูดถึงการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือ และความร่วมมือของทุกฝ่าย แสดงให้เห็นว่าเข้าใจการเลือกตั้งในอดีตที่มีปัญหา ไม่เห็นประชาธิปไตย และถือเป็นการสะท้อนความเข้าใจได้เรื่องหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่ คสช.ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
นอกจากนี้ นายเกียรติ ยังกล่าวถึงกรณีกระแสข่าวอียูอาจบอยคอตประเทศไทย ว่า ถึงวันนี้ยังไม่เห็นเรื่องนี้ แต่หากเกิดเหตุลักษณะนี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไรต่อประเทศที่ถูกบอยคอต และไม่ช่วยให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น เนื่องจากเรื่องเกิดขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองไม่ได้เกี่ยวกับการกระทบด้านการค้า
นายเกียรติ กล่าวอีกว่า ได้สื่อสารกับผู้แทนของอียูหรือสหรัฐฯ ด้วยการพยายามชี้ให้เห็นว่า ลองดูท่าทีคุณว่าเหมาะสมกับไทยหรือไม่ เมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง เช่น อียิปต์ ที่สหรัฐฯ และอียูมีท่าที โดยระบุว่าทหารเข้ามาเพื่อปกป้องประชาธิปไตย แต่กับไทยไม่ได้มีท่าทีแบบนี้ ทั้งที่มีลักษณะคล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นฝ่ายเดียว รัฐบาลจากการเลือกตั้งมีปัญหา แต่ท่าทีสหรัฐฯ และอียูเข้าใจอียิปต์มากกว่าไทย ซึ่งนักธุรกิจของเขาที่อยู่ในไทยเข้าใจสถานการณ์ไทยมากกว่ารัฐบาลเขาและน่าจะได้สะท้อนกลับไปบ้าง
ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ของอียูยังมีส่วนดีและเป็นบวกที่มีการพูดถึงการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือ และความร่วมมือของทุกฝ่าย แสดงให้เห็นว่าเข้าใจการเลือกตั้งในอดีตที่มีปัญหา ไม่เห็นประชาธิปไตย และถือเป็นการสะท้อนความเข้าใจได้เรื่องหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่ คสช.ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
นอกจากนี้ นายเกียรติ ยังกล่าวถึงกรณีกระแสข่าวอียูอาจบอยคอตประเทศไทย ว่า ถึงวันนี้ยังไม่เห็นเรื่องนี้ แต่หากเกิดเหตุลักษณะนี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไรต่อประเทศที่ถูกบอยคอต และไม่ช่วยให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น เนื่องจากเรื่องเกิดขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองไม่ได้เกี่ยวกับการกระทบด้านการค้า
นายเกียรติ กล่าวอีกว่า ได้สื่อสารกับผู้แทนของอียูหรือสหรัฐฯ ด้วยการพยายามชี้ให้เห็นว่า ลองดูท่าทีคุณว่าเหมาะสมกับไทยหรือไม่ เมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง เช่น อียิปต์ ที่สหรัฐฯ และอียูมีท่าที โดยระบุว่าทหารเข้ามาเพื่อปกป้องประชาธิปไตย แต่กับไทยไม่ได้มีท่าทีแบบนี้ ทั้งที่มีลักษณะคล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นฝ่ายเดียว รัฐบาลจากการเลือกตั้งมีปัญหา แต่ท่าทีสหรัฐฯ และอียูเข้าใจอียิปต์มากกว่าไทย ซึ่งนักธุรกิจของเขาที่อยู่ในไทยเข้าใจสถานการณ์ไทยมากกว่ารัฐบาลเขาและน่าจะได้สะท้อนกลับไปบ้าง