นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สํานักเศรษฐกิจการแรงงานได้รายงานสถานการณ์การเตือนภัยด้านแรงงา เดือนเมษายน 2557 โดยพบว่าสถานการณ์ด้านแรงงานของไทยจะชะลอตัว หรือขยายตัว ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ สภาวะเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศคู่ค้าที่มีผลต่อประเทศไทย คือ ยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น ทั้งนี้ จะพิจารณาจากปัจจัยการผลิต คำสั่งซื้อสินค้า และการจ้างงาน
ส่วนสถานการณ์การจ้างงานในตลาดแรงงาน มีผู้ประกันตนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม มาตรา 33 ชะลอตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ การขยายตัวการจ้างงานยังน่าเป็นห่วง สะท้อนให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจส่งผลต่อการจ้างงาน ดังนั้นสถานประกอบการต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน สำหรับดัชนีที่ส่งสัญญาณชะลอตัวในเดือนเมษายน คือ มูลค่าการจำหน่ายรถยนต์ และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่มีผลต่อการจ้างงาน การเลิกจ้าง และการว่างงาน มี 6 อุตสาหกรรม คือ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ แม่พิมพ์ ท่องเที่ยวและโรงแรม ภัตตาคาร และสุขภาพ
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวด้วยว่า ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบประเมินสถานการณ์ด้านแรงงานของเดือนพฤษภาคม จนถึงปัจจุบัน เพื่อพิจารณาว่าตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและคลี่คลายสถานการณ์ต่างๆ ให้ดีขึ้นนั้น น่าจะส่งผลดีต่อสถานการณ์ด้านแรงงาน เพราะเชื่อว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมดีขึ้นแล้ว ก็น่าจะส่งผลให้สถานการณ์ด้านตลาดแรงงานดีขึ้นตามไปด้วย
ส่วนสถานการณ์การจ้างงานในตลาดแรงงาน มีผู้ประกันตนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม มาตรา 33 ชะลอตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ การขยายตัวการจ้างงานยังน่าเป็นห่วง สะท้อนให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจส่งผลต่อการจ้างงาน ดังนั้นสถานประกอบการต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน สำหรับดัชนีที่ส่งสัญญาณชะลอตัวในเดือนเมษายน คือ มูลค่าการจำหน่ายรถยนต์ และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่มีผลต่อการจ้างงาน การเลิกจ้าง และการว่างงาน มี 6 อุตสาหกรรม คือ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ แม่พิมพ์ ท่องเที่ยวและโรงแรม ภัตตาคาร และสุขภาพ
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวด้วยว่า ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบประเมินสถานการณ์ด้านแรงงานของเดือนพฤษภาคม จนถึงปัจจุบัน เพื่อพิจารณาว่าตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและคลี่คลายสถานการณ์ต่างๆ ให้ดีขึ้นนั้น น่าจะส่งผลดีต่อสถานการณ์ด้านแรงงาน เพราะเชื่อว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมดีขึ้นแล้ว ก็น่าจะส่งผลให้สถานการณ์ด้านตลาดแรงงานดีขึ้นตามไปด้วย