นายธัชพล กาญจนกูล รักษาการผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า หลัง คสช.ได้ให้สถาบันการเงินของรัฐ เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สิน และหนี้นอกระบบนั้น โดยในส่วนของออมสินจะเน้นแก้ไขใน 3 กลุ่มคือ ข้าราชการ ครู ทหาร และตำรวจ ทั้งส่วนที่เป็นหนี้กับสถาบันการเงิน และสหกรณ์ ซึ่งออมสินมีลูกค้ากลุ่มนี้อยู่กว่า 8 ล้านราย มูลหนี้ประมาณ 1.1 แสนล้านบาท โดยเป็นหนี้เสียประมาณ 3%
สำหรับแนวทางนั้น ทางธนาคารออมสินจะเสนอให้มีการตั้งกองทุนแก้ไขปัญหาหนี้ข้าราชการ วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท แยกออกมาจากบัญชีการดำเนินงานปกติ เพื่อให้สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ง่ายขึ้น โดยกองทุนดังกล่าวจะเข้าไปรับซื้อหนี้จากสหกรณ์ เข้ามารวมไว้ด้วยกัน นอกเหนือจากหนี้ของธนาคารเอง โดยจะมีทั้งการยืดหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ การลดวงเงินผ่อนชำระ ลดดอกเบี้ย และยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไป รวมถึงการลดภาระหนี้ให้กับรายที่มีความจำเป็นด้วย ซึ่งการตั้งกองทุนเพื่อซื้อหนี้ออกไป จะทำให้หนี้เสียของธนาคารลดลงไปด้วย และยังมีผลดีในแง่ของการบริหารที่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ง่ายขึ้น เช่น การฟ้องร้องหากเป็นหนี้เสียปกติ เมื่อครบเวลา 6 เดือนก็ต้องส่งฟ้อง แต่หากบริหารในรูปแบบของกองทุน จะสามารถชะลอส่งฟ้อง เพื่อแก้ไขตามแนวทางอื่น เพื่อเป็นประโยชน์กับลูกหนี้ได้มากกว่า
สำหรับแนวทางนั้น ทางธนาคารออมสินจะเสนอให้มีการตั้งกองทุนแก้ไขปัญหาหนี้ข้าราชการ วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท แยกออกมาจากบัญชีการดำเนินงานปกติ เพื่อให้สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ง่ายขึ้น โดยกองทุนดังกล่าวจะเข้าไปรับซื้อหนี้จากสหกรณ์ เข้ามารวมไว้ด้วยกัน นอกเหนือจากหนี้ของธนาคารเอง โดยจะมีทั้งการยืดหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ การลดวงเงินผ่อนชำระ ลดดอกเบี้ย และยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไป รวมถึงการลดภาระหนี้ให้กับรายที่มีความจำเป็นด้วย ซึ่งการตั้งกองทุนเพื่อซื้อหนี้ออกไป จะทำให้หนี้เสียของธนาคารลดลงไปด้วย และยังมีผลดีในแง่ของการบริหารที่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ง่ายขึ้น เช่น การฟ้องร้องหากเป็นหนี้เสียปกติ เมื่อครบเวลา 6 เดือนก็ต้องส่งฟ้อง แต่หากบริหารในรูปแบบของกองทุน จะสามารถชะลอส่งฟ้อง เพื่อแก้ไขตามแนวทางอื่น เพื่อเป็นประโยชน์กับลูกหนี้ได้มากกว่า