น.พ.เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ผู้อำนวยการศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากการประกาศกฎอัยการศึกได้เตรียมใช้แผนเอราวัณ 2 เตรียมความพร้อมด้านการแพทย์ เพื่อรองรับการชุมนุมทางการเมืองของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส. ที่ถนนราชดำเนิน แจ้งวัฒนะ และของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ที่ถนนอุทยาน รวมถึงการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยจัดทีมปฏิบัติการด้านการแพทย์ระดับสูงจากสำนักการแพทย์ สภากาชาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และทีมปฏิบัติการด้านการแพทย์ระดับพื้นฐาน จากศูนย์เอราวัณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และมูลนิธิร่วมกตัญญู รวมกว่า 40 ทีม เข้าปฏิบัติการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินโดยรอบพื้นที่การชุมนุม
แบ่งพื้นที่รับผิดชอบดูแล ดังนี้ พื้นที่บริเวณ ถนนราชดำเนิน สำนักการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล รับผิดชอบ พื้นที่ถนนแจ้งวัฒนะ ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานครรับผิดชอบ และพื้นที่ถนนอุทยาน และบริเวณต่อเนื่องใน จ.นครปฐม ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบ
สำหรับยอดผู้บาดเจ็บจากการชุมนุมทางการเมือง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เหตุที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 จนถึงขณะนี้ มีผู้บาดเจ็บ 782 คน เสียชีวิต 25 คน รวมเป็น 807 คน และเหลือผู้บาดเจ็บที่ยังพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 8 คน
แบ่งพื้นที่รับผิดชอบดูแล ดังนี้ พื้นที่บริเวณ ถนนราชดำเนิน สำนักการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล รับผิดชอบ พื้นที่ถนนแจ้งวัฒนะ ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานครรับผิดชอบ และพื้นที่ถนนอุทยาน และบริเวณต่อเนื่องใน จ.นครปฐม ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบ
สำหรับยอดผู้บาดเจ็บจากการชุมนุมทางการเมือง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เหตุที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 จนถึงขณะนี้ มีผู้บาดเจ็บ 782 คน เสียชีวิต 25 คน รวมเป็น 807 คน และเหลือผู้บาดเจ็บที่ยังพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 8 คน