นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา เปิดเผยถึงมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และส่งถอดถอนต่อวุฒิสภาคดีจำนำข้าวว่า ปัญหาของในขั้นตอนวุฒิสภา คือ จะต้องเสนอขอให้เปิดการประชุมสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาถอดถอน แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นแย้งว่า การจะขอเปิดประชุมทำได้โดยประธานรัฐสภา หากเลือกประธานวุฒิสภาได้แล้วต้องเสนอคณะรัฐมนตรีรักษาการทูลเกล้าฯ แต่จะโต้แย้งมาว่าทำไม่ได้ เพราะเป็นการเลือกประธานในสมัยวิสามัญ แต่ความเห็นของวุฒิฯ สามารถทำได้ ซึ่งมองกรณีนี้ว่าคณะรัฐมนตรีรักษาการคงต้องการจะชะลอ เพื่อไม่ยอมให้มีการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ และถึงแม้จะพ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็ถอดถอนได้ รวมถึงถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปีด้วย
อย่างไรก็ตาม การจะใช้เสียงถึง 3 ใน 5 เป็นเรื่องที่ยากมาก
นายไพบูลย์ กล่าวว่า จากกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้รักษาการนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีรักษาการที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งคำวินิจฉัยผูกพันกับทุกองค์กร เพราะฉะนั้น ป.ป.ช.จะต้องใช้หลักการนี้ในส่วนของคดีอาญาที่จะพิจารณาต่อไป โดยนำมาขยายผลถึงคณะรัฐมนตรีรักษาการที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวต่อไปด้วย
อย่างไรก็ตาม การจะใช้เสียงถึง 3 ใน 5 เป็นเรื่องที่ยากมาก
นายไพบูลย์ กล่าวว่า จากกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้รักษาการนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีรักษาการที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งคำวินิจฉัยผูกพันกับทุกองค์กร เพราะฉะนั้น ป.ป.ช.จะต้องใช้หลักการนี้ในส่วนของคดีอาญาที่จะพิจารณาต่อไป โดยนำมาขยายผลถึงคณะรัฐมนตรีรักษาการที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวต่อไปด้วย