การพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ในคดีผู้ร้องถอดถอนนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง กรณีเพิกเฉยจนเกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.สรุปสำนวนการไต่สวน ทั้งในส่วนข้อเท็จจริง พร้อมคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของนายกรัฐมนตรี ตลอดจนคำชี้แจงของพยานทั้ง 4 ปาก ซึ่งเตรียมนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ ในวันพรุ่งนี้ (8 พ.ค.) ซึ่งมีรายงานว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.จะลงมติในวันพรุ่งนี้เลยเช่นกัน
ทั้งนี้ แนวทางการชี้มูลความผิดของนายกรัฐมนตรีจะมี 2 แนวทาง คือ มีความเห็นยกคำร้อง กรณีนี้นายกรัฐมนตรีจะพ้นข้อกล่าวหา กับอีก 1 แนวทางคือ การชี้มูลความผิด กรณีนี้นายกรัฐมนตรีจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ และมอบหมายให้รัฐมนตรีผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน ซึ่งระหว่างนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะส่งเรื่องกลับไปยังเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อนำเรื่องเข้าสู่การประชุมสมาชิกวุฒิสภาให้มีมติถอดถอน โดยหากที่ประชุมมีมติยกคำร้อง นายกรัฐมนตรีจะกลับมาปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ แต่หากมีมติถอดถอน ซึ่งต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 หรือมากกว่า 90 เสียง นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันจะพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่จากที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ แนวทางการชี้มูลความผิดของนายกรัฐมนตรีจะมี 2 แนวทาง คือ มีความเห็นยกคำร้อง กรณีนี้นายกรัฐมนตรีจะพ้นข้อกล่าวหา กับอีก 1 แนวทางคือ การชี้มูลความผิด กรณีนี้นายกรัฐมนตรีจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ และมอบหมายให้รัฐมนตรีผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน ซึ่งระหว่างนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะส่งเรื่องกลับไปยังเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อนำเรื่องเข้าสู่การประชุมสมาชิกวุฒิสภาให้มีมติถอดถอน โดยหากที่ประชุมมีมติยกคำร้อง นายกรัฐมนตรีจะกลับมาปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ แต่หากมีมติถอดถอน ซึ่งต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 หรือมากกว่า 90 เสียง นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันจะพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่จากที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร