นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยถึงกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม 2557 เวลา 18.08 น. ส่งผลให้หลายจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน รวมถึงเกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาด 3.0 – 5.9 ริกเตอร์ ตามมาอีกกว่า 100 ครั้ง ว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ ประกอบกับ ในระยะนี้ภาคเหนือมีพายุฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้ดินอ่อนตัว หากเกิดอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงตามมาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหินหน้าผาและดินถล่ม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้ประสานศูนย์ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำปาง และเขต 15 เชียงราย และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน เฝ้าระวังการเกิดหินหน้าผา และดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะถนน อ่างเก็บน้ำ โบราณสถาน และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หากตรวจสอบพบไม่มีความมั่นคงแข็งแรง ให้พิจารณาอพยพประชาชนไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยทันที รวมถึงปรับปรุงแก้ไขโดยด่วน พร้อมแจ้งเตือนประชาชนติดตามสถานการณ์ภัย รับฟังข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด ปฏิบัติตามคำแนะนำและประกาศแจ้งเตือนของหน่วยงานราชการอย่างเคร่งครัด ตลอดจนเตรียมการป้องกันและระมัดระวังอันตรายจากอาฟเตอร์ช็อกที่เกิดขึ้นในระยะนี้
สำหรับความเสียหายจากแผ่นดินไหว ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม โดย ปภ.ได้กำชับให้จังหวัดเร่งสำรวจ และประเมินความเสียหายในระดับพื้นที่ แยกเป็นรายตำบล อำเภออย่างชัดเจน เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป ในเบื้องต้น ปภ. ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ (ศอร.ปภ.ช.) ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมจัดส่งเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) ชุดเคลื่อนที่เร็ว และเครื่องมือกู้ภัย รถไฟฟ้าส่องสว่าง รถกู้ภัย ลงพื้นที่สนับสนุนการปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว
สำหรับความเสียหายจากแผ่นดินไหว ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม โดย ปภ.ได้กำชับให้จังหวัดเร่งสำรวจ และประเมินความเสียหายในระดับพื้นที่ แยกเป็นรายตำบล อำเภออย่างชัดเจน เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป ในเบื้องต้น ปภ. ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ (ศอร.ปภ.ช.) ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมจัดส่งเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) ชุดเคลื่อนที่เร็ว และเครื่องมือกู้ภัย รถไฟฟ้าส่องสว่าง รถกู้ภัย ลงพื้นที่สนับสนุนการปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว