วันนี้ (5 เม.ย.) นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ.เปิดเผยถึงสถานการณ์การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ว่า ถึงแม้ปัจจุบันทั่วประเทศจะประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจากภัยแล้งแล้วรวม 38 จังหวัด แต่ในภาพรวมทั้งประเทศในปีนี้ ตัวเลขความเสียหายจากสถานการณ์ภัยแล้งน้อยกว่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ จากการที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ปรับการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งออกเป็น 2 ส่วน ตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธาณณภัย ที่ยึดตามระเบียบของกระทรวงการคลังคือ มาตรการป้องกันและยับยั้ง ที่มีคณะกรรมการระดับจังหวัดพิจารณาแผนงานและโครงการ ที่ทางอำเภอเสนอมายังระดับจังหวัดในวงเงิน 10 ล้าน และเมื่อเกิดปัญหาภัยพิบัติฉุกเฉินจากภัยแล้ง จะมีการประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินเช่นเดิม เพื่อนำงบประมาณฉุกเฉินมาดำเนินแก้ไขปัญหาในวงเงิน 20 ล้านบาท ตามอำนาจการเบิกจ่ายของทางจังหวัด ซึ่งหากวงเงินงบประมาณดังกล่าวไม่พอ ทางจังหวัดสามารถทำเรื่องเพื่อขยายวงเงินงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือประชาชนมายังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้
นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาภัยแล้งจะครอบคลุมการป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำทั้ง 4 ชนิด คือ น้ำกิน น้ำใช้ น้ำเพื่อเกษตร น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม และน้ำในเชิงระบบนิเวศ
ทั้งนี้ จากการที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ปรับการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งออกเป็น 2 ส่วน ตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธาณณภัย ที่ยึดตามระเบียบของกระทรวงการคลังคือ มาตรการป้องกันและยับยั้ง ที่มีคณะกรรมการระดับจังหวัดพิจารณาแผนงานและโครงการ ที่ทางอำเภอเสนอมายังระดับจังหวัดในวงเงิน 10 ล้าน และเมื่อเกิดปัญหาภัยพิบัติฉุกเฉินจากภัยแล้ง จะมีการประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินเช่นเดิม เพื่อนำงบประมาณฉุกเฉินมาดำเนินแก้ไขปัญหาในวงเงิน 20 ล้านบาท ตามอำนาจการเบิกจ่ายของทางจังหวัด ซึ่งหากวงเงินงบประมาณดังกล่าวไม่พอ ทางจังหวัดสามารถทำเรื่องเพื่อขยายวงเงินงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือประชาชนมายังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้
นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาภัยแล้งจะครอบคลุมการป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำทั้ง 4 ชนิด คือ น้ำกิน น้ำใช้ น้ำเพื่อเกษตร น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม และน้ำในเชิงระบบนิเวศ