ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (24-28 มี.ค.) ว่า เงินบาททยอยอ่อนค่าลง ท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มที่ยืดเยื้อของปัญหาการเมืองในประเทศ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น
นอกจากนี้ การปรับตัวลงของราคาทองคำในตลาดโลก และความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วงสิ้นเดือน เป็นปัจจัยลบต่อเงินบาทในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เงินบาทสามารถลดช่วงติดลบกลับมาเล็กน้อยช่วงท้ายสัปดาห์ โดยมีแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิหุ้น และพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ โดยวันศุกร์ที่ผ่านมา (28 มี.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.48 เทียบกับระดับ 32.36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในวันศุกร์ก่อนหน้า(21 มี.ค.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 31 มีนาคมถึง 4 เมษายน เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.30-32.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยต้องจับตาสถานการณ์การเมืองไทย รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญ
นอกจากนี้ ตลาดอาจจับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ - รัสเซีย และตัวเลขเศรษฐกิจเดือนกุมภาพันธ์ และอัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมของไทยด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ การปรับตัวลงของราคาทองคำในตลาดโลก และความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วงสิ้นเดือน เป็นปัจจัยลบต่อเงินบาทในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เงินบาทสามารถลดช่วงติดลบกลับมาเล็กน้อยช่วงท้ายสัปดาห์ โดยมีแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิหุ้น และพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ โดยวันศุกร์ที่ผ่านมา (28 มี.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.48 เทียบกับระดับ 32.36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในวันศุกร์ก่อนหน้า(21 มี.ค.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 31 มีนาคมถึง 4 เมษายน เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.30-32.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยต้องจับตาสถานการณ์การเมืองไทย รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญ
นอกจากนี้ ตลาดอาจจับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ - รัสเซีย และตัวเลขเศรษฐกิจเดือนกุมภาพันธ์ และอัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมของไทยด้วยเช่นกัน