ในการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตร ความก้าวหน้าจัดทำโซนนิ่งเกษตร และสถานการณ์ภัยแล้ง โดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี น.ส.ยิ่งลักษณ์ เห็นควรให้มีการเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาสินค้า 11 รายการ ที่ต้องให้ความสำคัญเร่งด่วน เช่น ข้าวนาปรัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และผลไม้ เพื่อบริหารจัดการผลผลิตที่ล้นตลาดและเร่งประสานผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมให้รับซื้อสินค้าเกษตรไปแปรรูปที่เป็นส่วนเกินของตลาด
นอกจากนี้ รับทราบความก้าวหน้าการจัดทำโซนนิ่งภาคการเกษตรระยะแรก โดยเน้นปรับพื้นที่ที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นอ้อยโรงงาน และสำรวจอุปสงค์อุปทานของตลาด
ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งเนื่องจากมีลักษณะเฉพาะจุดเล็กๆ และการกระจาย จึงมีการประกาศเขตภัยแล้งระดับตำบลแทนการประกาศทั่วจังหวัด พบว่ามีพื้นที่เกิดภัยแล้งลดลงจากปีก่อนที่มี 45 จังหวัด ซึ่งข้อมูลเมื่อวานนี้พบว่ามีพื้นที่ประสบภัยแล้ง 28 จังหวัด 154 อำเภอ โดยในเขตชลประทานไม่มีปัญหา เพราะมีปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนหลักที่มากกว่าเมื่อปีก่อน แต่นอกเขตชลประทานต้องมีการบริหารจัดการเพื่อจัดหาน้ำกินน้ำใช้ให้เพียงพอ
นอกจากนี้ รับทราบความก้าวหน้าการจัดทำโซนนิ่งภาคการเกษตรระยะแรก โดยเน้นปรับพื้นที่ที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นอ้อยโรงงาน และสำรวจอุปสงค์อุปทานของตลาด
ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งเนื่องจากมีลักษณะเฉพาะจุดเล็กๆ และการกระจาย จึงมีการประกาศเขตภัยแล้งระดับตำบลแทนการประกาศทั่วจังหวัด พบว่ามีพื้นที่เกิดภัยแล้งลดลงจากปีก่อนที่มี 45 จังหวัด ซึ่งข้อมูลเมื่อวานนี้พบว่ามีพื้นที่ประสบภัยแล้ง 28 จังหวัด 154 อำเภอ โดยในเขตชลประทานไม่มีปัญหา เพราะมีปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนหลักที่มากกว่าเมื่อปีก่อน แต่นอกเขตชลประทานต้องมีการบริหารจัดการเพื่อจัดหาน้ำกินน้ำใช้ให้เพียงพอ