ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน 6 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ร่วมประชุมเพื่อเสนอกรอบการเจรจาคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง และแผนที่ความสำเร็จ หรือ โรดแม็ป โดยประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็น 1 ใน 7 องค์กรที่จะเข้าร่วมหารือ แต่ด้วยความที่เป็นองค์กรที่บังคับใช้กฎหมาย จึงไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการเจรจา ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งได้
สำหรับกรอบเจรจามี 4 ประเด็น ประกอบด้วย ท่าทีต่อการเลือกตั้งในการหาทางออกของประเทศ ว่าจะเดินหน้าเลือกตั้ง หรือปฏิรูปการเลือกตั้ง โดยจะมีข้อเสนอใหม่ที่เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย การทำพันธสัญญาในประเด็นปฏิรูปประเทศที่จะทำก่อนเลือกตั้งและหลังการเลือกตั้ง รูปแบบของรัฐบาลรักษาการที่เป็นกลาง และเป็นที่เชื่อถือได้ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ในประเด็นว่ารัฐบาลปัจจุบันควรรักษาการจนวันเลือกตั้ง หรือจะมีข้อเสนออื่น เพื่อให้มีรัฐบาลที่เป็นกลาง และเป็นที่ยอมรับ โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และสามารถยุติความรุนแรงในสังคม
ส่วนโรดแม็ปการเจรจา 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย การประกาศต่อสาธารณะและให้สังคมมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดการเจรจา การเดินสายเพื่อรับฟังแนวคำตอบของแต่ละฝ่าย การสังเคราะห์ข้อเสนอทั้งสองฝ่ายที่เป็นกลางและเป็นที่ยอมรับ การประสานและเจรจาทางลับ เพื่อปรับข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายให้เข้าใกล้กันมากที่สุด การประชุมอย่างเป็นทางการระหว่างผู้มีอำนาจสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเพื่อตั้งข้อยุติที่ยอมรับได้ และการร่วมแถลงผลการเจรจาต่อสาธารณะ
ทั้งนี้ ภายหลังการหารือของทั้ง 6 องค์กรเสร็จสิ้น จะมีการแถลงข่าวต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการเสนอกรอบเจรจาและโรดแม็ปที่ชัดเจนอีกครั้ง
สำหรับกรอบเจรจามี 4 ประเด็น ประกอบด้วย ท่าทีต่อการเลือกตั้งในการหาทางออกของประเทศ ว่าจะเดินหน้าเลือกตั้ง หรือปฏิรูปการเลือกตั้ง โดยจะมีข้อเสนอใหม่ที่เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย การทำพันธสัญญาในประเด็นปฏิรูปประเทศที่จะทำก่อนเลือกตั้งและหลังการเลือกตั้ง รูปแบบของรัฐบาลรักษาการที่เป็นกลาง และเป็นที่เชื่อถือได้ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ในประเด็นว่ารัฐบาลปัจจุบันควรรักษาการจนวันเลือกตั้ง หรือจะมีข้อเสนออื่น เพื่อให้มีรัฐบาลที่เป็นกลาง และเป็นที่ยอมรับ โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และสามารถยุติความรุนแรงในสังคม
ส่วนโรดแม็ปการเจรจา 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย การประกาศต่อสาธารณะและให้สังคมมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดการเจรจา การเดินสายเพื่อรับฟังแนวคำตอบของแต่ละฝ่าย การสังเคราะห์ข้อเสนอทั้งสองฝ่ายที่เป็นกลางและเป็นที่ยอมรับ การประสานและเจรจาทางลับ เพื่อปรับข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายให้เข้าใกล้กันมากที่สุด การประชุมอย่างเป็นทางการระหว่างผู้มีอำนาจสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเพื่อตั้งข้อยุติที่ยอมรับได้ และการร่วมแถลงผลการเจรจาต่อสาธารณะ
ทั้งนี้ ภายหลังการหารือของทั้ง 6 องค์กรเสร็จสิ้น จะมีการแถลงข่าวต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการเสนอกรอบเจรจาและโรดแม็ปที่ชัดเจนอีกครั้ง