นายธนะศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) กล่าวถึงปัญหาน้ำประปารสชาติเค็ม ว่า ช่วงวิกฤตของปัญหาเมื่อวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พบปริมาณโซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือ ในแม่น้ำเจ้าพระยา ในปริมาณสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ คือ 1,800 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร เกินกว่ามาตรฐานที่ไม่ควรเกิน 250 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร โดยทันทีที่เข้าหรือกับอธิบดีกรมชลประทานเมื่อวันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ก็ได้ช่วยกันแก้ปัญหาทันทีด้วยการปล่อยน้ำจากแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำแม่กลอง ลงมาไล่น้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาออกไป จนวันนี้โซเดียมคลอไรด์ในแม่น้ำเจ้าพระยากลับเข้าสู่ภาวะปกติ เหลือประมาณ 200 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่เป็นโรคไตควรเลี่ยงการดื่มน้ำประปาในช่วงนี้ไปก่อน เพราะแม้วันนี้ปริมาณโซเดียมคลอไรด์ในน้ำประปาจะได้มาตรฐาน แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าเดิมมาก โดยก่อนหน้านี้น้ำประปามีปริมาณโซเดียมคลอไรด์เพียงแค่ 20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝั่งพระนคร จ.นนทบุรี และสมุทรปราการ ควรสำรองน้ำประปาเก็บไว้ หากเกิดกรณีน้ำประปาเค็มขึ้นอีก เพราะยังมีน้ำทะเลหนุนสูงอีกในช่วงวันขึ้น 8 ค่ำ ต้นเดือนมีนาคมนี้ แต่การกักเก็บน้ำของประชาชน ให้ใช้อย่างประหยัด และรู้คุณค่าที่สุด เพราะปีนี้ค่อนข้างแล้ง และปริมาณน้ำฝนที่เก็บกักไว้มีปริมาณน้อยกว่าปี 2556 มาก
อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่เป็นโรคไตควรเลี่ยงการดื่มน้ำประปาในช่วงนี้ไปก่อน เพราะแม้วันนี้ปริมาณโซเดียมคลอไรด์ในน้ำประปาจะได้มาตรฐาน แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าเดิมมาก โดยก่อนหน้านี้น้ำประปามีปริมาณโซเดียมคลอไรด์เพียงแค่ 20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝั่งพระนคร จ.นนทบุรี และสมุทรปราการ ควรสำรองน้ำประปาเก็บไว้ หากเกิดกรณีน้ำประปาเค็มขึ้นอีก เพราะยังมีน้ำทะเลหนุนสูงอีกในช่วงวันขึ้น 8 ค่ำ ต้นเดือนมีนาคมนี้ แต่การกักเก็บน้ำของประชาชน ให้ใช้อย่างประหยัด และรู้คุณค่าที่สุด เพราะปีนี้ค่อนข้างแล้ง และปริมาณน้ำฝนที่เก็บกักไว้มีปริมาณน้อยกว่าปี 2556 มาก