ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่องการสวดมนต์ข้ามปี พ.ศ. 2556-2557 ในกลุ่มประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา พะเยา ขอนแก่น และสงขลา 2,016 ตัวอย่าง พบว่า ประชาชนร้อยละ 73.1 ให้ความสำคัญกับคืนส่งท้ายปี เพราะเป็นโอกาสพิเศษมีเพียงปีละครั้งที่จะได้เตรียมตัวเริ่มต้นสิ่งใหม่ในชีวิต เป็นวันที่จะได้ปล่อยวาง สิ่งเก่าๆ สิ่งไม่ดี เพื่อต้อนรับปีใหม่ และใช้โอกาสอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าครอบครัว โดยร้อยละ 44.5 เคยร่วมสวดมนต์ข้ามปีแล้ว ส่วนใหญ่ 2 ใน 3 ไปกับครอบครัว สำหรับช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ 2557 นี้ ร้อยละ 88.3 ตั้งใจไปไหว้พระ ทำบุญ สวดมนต์ข้ามปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 84.7 จะขอพรให้ครอบครัวมีความสุข
ส่วนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีพบว่าสวนใหญ่รู้สึกใจเย็น มีสมาธิมากขึ้น และส่วนใหญ่จะไปกับสมาชิกในครอบครัว โดยร้อยละ 54.6 ระบุว่าสถานการณ์การเมืองไม่มีผลต่อการตัดสินใจไปเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี
ส่วนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีพบว่าสวนใหญ่รู้สึกใจเย็น มีสมาธิมากขึ้น และส่วนใหญ่จะไปกับสมาชิกในครอบครัว โดยร้อยละ 54.6 ระบุว่าสถานการณ์การเมืองไม่มีผลต่อการตัดสินใจไปเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี