นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนากยกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เรียกร้องให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ตนเห็นว่าทำควบคู่กันไปได้ ปัญหาไม่ใช่ปฏิรูปก่อนหรือหลังเลือกตั้ง แต่ปัญหาคือควรจะปฏิรูปเรื่องอะไรบ้าง และใครควรเป็นผู้เห็นชอบว่าควรปฏิรูปเรื่องไหน ดังนั้น ทุกภาคส่วนควรนำเสนอแนวคิดปฏิรูปประเทศไทยที่ชัดเจนออกมาโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนพิจารณา ซึ่งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. บอกต้องปฏิรูปเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่คนอื่นอาจไม่เห็นด้วย ถ้าให้ กปปส.ชี้ขาดอาจนำไปสู่ความขัดแย้งไม่รู้จบ ทำไมไม่เอาข้อเสนอการปฏิรูปที่ชัดเจนไปให้พรรคการเมืองแต่ละพรรคนำไปเสนอให้ประชาชนตัดสินในวันเลือกตั้งว่า ประชาชนเขาอยากให้ปฏิรูปเรื่องอะไร ทำแบบนี้ชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรมที่สุด ปวงชนชาวไทยจะตัดสินใจเองไม่มีใครไปตัดสินใจแทนได้
นายนพดล กล่าวต่อว่า เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พรรคการเมืองควรนำเสนอนโยบายเป็นทางเลือกให้กับประชาชนทั้งประเทศได้พิจารณา ถ้าเขาชอบเขาก็เลือก ไม่ชอบเขาก็ไม่เลือก ดังนั้น ไม่ควรปิดกั้นสิทธิ์และเสรีภาพของประชาชนที่จะมีสิทธิ์เลือก
อย่างไรก็ตาม เป็นสิทธิของพรรคการเมืองที่จะตัดสินใจทางการเมืองของตน เช่น ส่งผู้สมัครหรือบอยคอตการเลือกตั้ง แต่พรรคนั้นต้องรับผิดชอบกับผลที่ตามมา และในขณะนี้มีพรรคการเมืองเกือบร้อยพรรค ถ้ามีพรรคใดบอยคอตการเลือกตั้งคงไม่มีผลอะไร
นายนพดล กล่าวต่อว่า เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พรรคการเมืองควรนำเสนอนโยบายเป็นทางเลือกให้กับประชาชนทั้งประเทศได้พิจารณา ถ้าเขาชอบเขาก็เลือก ไม่ชอบเขาก็ไม่เลือก ดังนั้น ไม่ควรปิดกั้นสิทธิ์และเสรีภาพของประชาชนที่จะมีสิทธิ์เลือก
อย่างไรก็ตาม เป็นสิทธิของพรรคการเมืองที่จะตัดสินใจทางการเมืองของตน เช่น ส่งผู้สมัครหรือบอยคอตการเลือกตั้ง แต่พรรคนั้นต้องรับผิดชอบกับผลที่ตามมา และในขณะนี้มีพรรคการเมืองเกือบร้อยพรรค ถ้ามีพรรคใดบอยคอตการเลือกตั้งคงไม่มีผลอะไร