นายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า ทางจังหวัดยะลาได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินโคลนถล่มขึ้น และได้จัดทำแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินโคลนถล่มระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2553-2557 ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย โดยกำหนดการปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และดินโคลนถล่มจังหวัดยะลา การเฝ้าระวังและการแจ้งเตือน การเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2556 การจัดตั้งงบประมาณเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นอกจากนี้ ยังกำชับให้นายอำเภอกำกับดูแลความพร้อมของท้องถิ่น ในการรับมือปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ด้วย สำหรับจังหวัดยะลานั้น พื้นที่เสี่ยงภัยเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ได้แก่ สองฝั่งแม่น้ำสายบุรีของอำเภอรามัน และสองฝั่งแม่น้ำปัตตานี ตั้งแต่อำเภอบันนังสตา อำเภอกรงปินัง อำเภอเมืองยะลา และเขตเทศบาลนครยะลา ส่วนดินถล่มนั้น มักเกิดขึ้นบนเส้นทางสายยะลา-เบตง ตั้งแต่อำเภอบันนังสตาไปจนถึงอำเภอเบตง
นอกจากนี้ ยังกำชับให้นายอำเภอกำกับดูแลความพร้อมของท้องถิ่น ในการรับมือปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ด้วย สำหรับจังหวัดยะลานั้น พื้นที่เสี่ยงภัยเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ได้แก่ สองฝั่งแม่น้ำสายบุรีของอำเภอรามัน และสองฝั่งแม่น้ำปัตตานี ตั้งแต่อำเภอบันนังสตา อำเภอกรงปินัง อำเภอเมืองยะลา และเขตเทศบาลนครยะลา ส่วนดินถล่มนั้น มักเกิดขึ้นบนเส้นทางสายยะลา-เบตง ตั้งแต่อำเภอบันนังสตาไปจนถึงอำเภอเบตง