นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในการลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมด้วยอธิบดีกรมชลประทาน และคณะ ณ เขื่อนเจ้าพระยา สำนักชลประทานที่ 12 อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ว่าสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้นช่วงเดือนกันยายนนี้ มีสาเหตุจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง จากร่องความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมพื้นที่ภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง
ซึ่งปัจจุบันต้องจับตาเฝ้าระวังใน 3 จุด คือน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดนครสวรรค์ ที่ปัจจุบันมีอัตราการไหลที่ 2,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และต้องควบคุมไม่ให้เกิน 3,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ที่เขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท มีการระบายน้ำออกทางท้ายเขื่อนประมาณ 2,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และต้องไม่ให้เกิน 2,840 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ปัจจุบันมีอัตราการไหลที่ 1,978 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งต้องควบคุมไม่ให้เกิน 3,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบกับบริเวณตัวเมือง
ทั้งนี้ สถานการณ์ทั่วไปยังไม่น่าห่วง และเตรียมรองรับฝนระลอกใหม่ที่จะตามมาระหว่างวันที่ 25-28 กันยายนนี้ ซึ่งหากฝนตกไม่มาก อาจปรับลดระดับการระบายน้ำท้ายเขื่อนให้ลดลง โดยเชื่อว่าระดับน้ำหลังเดือนกันยายนนี้ จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สำนักชลประทานที่ 12 ดูแลสภาพประตูระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา และเก็บขยะ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
ซึ่งปัจจุบันต้องจับตาเฝ้าระวังใน 3 จุด คือน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดนครสวรรค์ ที่ปัจจุบันมีอัตราการไหลที่ 2,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และต้องควบคุมไม่ให้เกิน 3,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ที่เขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท มีการระบายน้ำออกทางท้ายเขื่อนประมาณ 2,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และต้องไม่ให้เกิน 2,840 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ปัจจุบันมีอัตราการไหลที่ 1,978 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งต้องควบคุมไม่ให้เกิน 3,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบกับบริเวณตัวเมือง
ทั้งนี้ สถานการณ์ทั่วไปยังไม่น่าห่วง และเตรียมรองรับฝนระลอกใหม่ที่จะตามมาระหว่างวันที่ 25-28 กันยายนนี้ ซึ่งหากฝนตกไม่มาก อาจปรับลดระดับการระบายน้ำท้ายเขื่อนให้ลดลง โดยเชื่อว่าระดับน้ำหลังเดือนกันยายนนี้ จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สำนักชลประทานที่ 12 ดูแลสภาพประตูระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา และเก็บขยะ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น