เกษตรกรสวนยางพารา รวมตัวปิดถนนแยกเตาปูน อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราชอีกรอบ เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา (14 ก.ย.) ทำให้การจราจรทั้ง 2 ช่องทาง ไม่สามารถใช้งานได้ โดยเฉพาะช่องทางมุ่งหน้าไปยัง จ.สุราษฎร์ธานี และจ.ชุมพร
นอกจากนี้ เกษตรสวนยางยังได้ปิดถนนบริเวณสี่แยกควนหนองหงษ์ ในอ.ชะอวด ซึ่งห่างจากแยกเตาปูน ประมาณ 10 กิโลเมตร โดยใช้รถบรรทุกปิดเส้นทางสัญจร สาเหตุเนื่องจากภาคีเครือข่ายเกษตรกรยางพาราและปาล์มน้ำมัน ที่ร่วมหารือกับ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อลงนามข้อตกลงแก้ปัญหาราคาตกต่ำ ที่วัดพระมหาธาตุวรวิหาร จ.นครศรีธรรมราช เกิดการโต้เถียงกัน
โดยเกษตรกร กล่าวว่า การปิดถนนสี่แยกควนหนองหงษ์ เนื่องจากไม่พอใจรัฐบาลที่ไม่จริงใจช่วยเหลือตามที่รับปากไว้ เมื่อครั้งที่ชาวสวนยางพาราปิดถนน เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน
โดยครั้งนั้นตัวแทนรัฐบาลรับปากว่า จะช่วยเหลือเกษตรกรให้ยางราคาที่กิโลกรัมละ 90 บาท แต่รัฐบาลไม่ทำตามที่ตกลงกันไว้ กลับไปช่วยเหลือเรื่องปัจจัยการผลิตไร่ละ 2,520 บาทแทน
นอกจากนี้ เกษตรกรไม่พอใจกับตัวแทนที่รัฐบาลส่งมาไม่มีอำนาจเพียงพอ ทำให้ตัวแทนเกษตรกรหรือภาคีเครือข่ายเกษตรกรและปาล์มน้ำมัน 11 จังหวัด ไม่ยอมลงนามในข้อตกลงแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำกับตัวแทนรัฐบาล จึงต้องปิดถนนอีกครั้ง สำหรับภาคีเครือข่ายเกษตรกร 11 จังหวัด ที่ไม่ร่วมลงนาม ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา สตูล พัทลุง ตรัง และภูเก็ต
นอกจากนี้ เกษตรสวนยางยังได้ปิดถนนบริเวณสี่แยกควนหนองหงษ์ ในอ.ชะอวด ซึ่งห่างจากแยกเตาปูน ประมาณ 10 กิโลเมตร โดยใช้รถบรรทุกปิดเส้นทางสัญจร สาเหตุเนื่องจากภาคีเครือข่ายเกษตรกรยางพาราและปาล์มน้ำมัน ที่ร่วมหารือกับ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อลงนามข้อตกลงแก้ปัญหาราคาตกต่ำ ที่วัดพระมหาธาตุวรวิหาร จ.นครศรีธรรมราช เกิดการโต้เถียงกัน
โดยเกษตรกร กล่าวว่า การปิดถนนสี่แยกควนหนองหงษ์ เนื่องจากไม่พอใจรัฐบาลที่ไม่จริงใจช่วยเหลือตามที่รับปากไว้ เมื่อครั้งที่ชาวสวนยางพาราปิดถนน เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน
โดยครั้งนั้นตัวแทนรัฐบาลรับปากว่า จะช่วยเหลือเกษตรกรให้ยางราคาที่กิโลกรัมละ 90 บาท แต่รัฐบาลไม่ทำตามที่ตกลงกันไว้ กลับไปช่วยเหลือเรื่องปัจจัยการผลิตไร่ละ 2,520 บาทแทน
นอกจากนี้ เกษตรกรไม่พอใจกับตัวแทนที่รัฐบาลส่งมาไม่มีอำนาจเพียงพอ ทำให้ตัวแทนเกษตรกรหรือภาคีเครือข่ายเกษตรกรและปาล์มน้ำมัน 11 จังหวัด ไม่ยอมลงนามในข้อตกลงแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำกับตัวแทนรัฐบาล จึงต้องปิดถนนอีกครั้ง สำหรับภาคีเครือข่ายเกษตรกร 11 จังหวัด ที่ไม่ร่วมลงนาม ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา สตูล พัทลุง ตรัง และภูเก็ต