นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ที่มี นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ได้ประชุมเมื่อเร็วๆ นี้ และมีมติให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เร่งรัดออกมาตรฐานบังคับกับผลิตภัณฑ์กลุ่มล้อยางรถยนต์ ทั้งรถเก๋ง และรถบรรทุก เพื่อยกระดับมาตรฐาน ล้อยางของไทย ที่ปัจจุบันกำหนดเพียงมาตรฐานทั่วไปเท่านั้น ทำให้ทุกประเทศสามารถส่งออกยางล้อรถยนต์เข้ามาขายในไทยได้เสรี เกิดปัญหายางราคาถูกจากจีนทะลักเข้าไทย จนปัจจุบันผู้ประกอบการล้อยางรถยนต์อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลการนำเข้ายางล้อจากจีนว่าผิดปกติหรือไม่ จากนั้นจะเสนอภาครัฐ เพื่อกำหนดมาตรการ อาทิ การตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี)
ในขณะเดียวกันยางล้อรถยนต์ของไทย ยังไม่สามารถส่งไปขายต่างประเทศได้สะดวก เพราะบางประเทศมีมาตรการกีดกันสินค้าจากไทย โดยประเทศในภูมิภาคอาเซียนคือ อินโดนีเซีย ออกขั้นตอนการนำเข้าที่ยุ่งยากมาก จนส่งผลกระทบต่อการส่งออกยางล้อรถยนต์ของไทย ทำตลาดยาก เพราะอินโดนีเซียต้องการรักษาตลาดในประเทศที่ใช้ยางล้อสูงจากประชากรที่มีมาก ทำให้นักลงทุนยางล้อรถยนต์อยากเข้าไปตั้งฐานการผลิต
นอกจากนี้ สมอ.จะเพิ่มการจัดทำมาตรฐานอาเซียน (เอ็มอาร์เอ) เพื่อใช้รับรองผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ซึ่งมีจำนวน 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ 2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ ยาง 3.กลุ่มอาหารแปรรูป 4.กลุ่มเครื่องมือแพทย์ 5.กลุ่มยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และ6.กลุ่มเครื่องสำอาง โดยจะเพิ่มยางล้อรถยนต์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง เบื้องต้นจะต้องหารือกับคณะกรรมการให้คำปรึกษาอาเซียนว่าด้วยมาตรฐานและคุณภาพ (เอซีซีเอสคิว)
นอกจากนี้ จะทำกับประเทศที่ใช้ยางล้อรถยนต์จำนวนมากในอาเซียน อาทิ เอ็มอาร์เอระหว่างไทยกับจีน เอ็มอาร์เอระหว่างไทยกับยุโรป คาดว่าการจัดทำมาตรฐานและข้อตกลงดังกล่าว จะทำให้การส่งออกยางล้อรถยนต์ของไทยเพิ่มขึ้นแน่นอน
ทั้งนี้เป้าหมายการส่งออกยางล้อรถยนต์ให้เพิ่มขึ้น นอกจากจะต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งไทย และต่างชาติที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยแล้ว ยังต้องการช่วยเหลือเกษตรกรยางพาราให้ขายยางพาราแผ่น และยางพาราแท่งได้มากขึ้น โดยยางล้อรถยนต์ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนใช้ยางพารามากที่สุดในปัจจุบัน
ในขณะเดียวกันยางล้อรถยนต์ของไทย ยังไม่สามารถส่งไปขายต่างประเทศได้สะดวก เพราะบางประเทศมีมาตรการกีดกันสินค้าจากไทย โดยประเทศในภูมิภาคอาเซียนคือ อินโดนีเซีย ออกขั้นตอนการนำเข้าที่ยุ่งยากมาก จนส่งผลกระทบต่อการส่งออกยางล้อรถยนต์ของไทย ทำตลาดยาก เพราะอินโดนีเซียต้องการรักษาตลาดในประเทศที่ใช้ยางล้อสูงจากประชากรที่มีมาก ทำให้นักลงทุนยางล้อรถยนต์อยากเข้าไปตั้งฐานการผลิต
นอกจากนี้ สมอ.จะเพิ่มการจัดทำมาตรฐานอาเซียน (เอ็มอาร์เอ) เพื่อใช้รับรองผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ซึ่งมีจำนวน 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ 2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ ยาง 3.กลุ่มอาหารแปรรูป 4.กลุ่มเครื่องมือแพทย์ 5.กลุ่มยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และ6.กลุ่มเครื่องสำอาง โดยจะเพิ่มยางล้อรถยนต์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง เบื้องต้นจะต้องหารือกับคณะกรรมการให้คำปรึกษาอาเซียนว่าด้วยมาตรฐานและคุณภาพ (เอซีซีเอสคิว)
นอกจากนี้ จะทำกับประเทศที่ใช้ยางล้อรถยนต์จำนวนมากในอาเซียน อาทิ เอ็มอาร์เอระหว่างไทยกับจีน เอ็มอาร์เอระหว่างไทยกับยุโรป คาดว่าการจัดทำมาตรฐานและข้อตกลงดังกล่าว จะทำให้การส่งออกยางล้อรถยนต์ของไทยเพิ่มขึ้นแน่นอน
ทั้งนี้เป้าหมายการส่งออกยางล้อรถยนต์ให้เพิ่มขึ้น นอกจากจะต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งไทย และต่างชาติที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยแล้ว ยังต้องการช่วยเหลือเกษตรกรยางพาราให้ขายยางพาราแผ่น และยางพาราแท่งได้มากขึ้น โดยยางล้อรถยนต์ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนใช้ยางพารามากที่สุดในปัจจุบัน