สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ติดตามการอภิปรายการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรณีที่มาของ ส.ว.จากประชาชน จำนวน 1,128 คน ระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม 2556 พบว่า ร้อยละ 51.18 มองว่าการอภิปรายการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรณีที่มาของ ส.ว.เหมือนกับทุกครั้งที่ผ่านมาจะต้องมีการทะเลาะเบาะแว้ง พูดจาส่อเสียด ประท้วงกันวุ่นวาย
ขณะที่ร้อยละ 40.51 คิดว่าจุดเด่นในการอภิปรายในครั้งนี้ ประชาชนได้รู้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.มากขึ้น รองลงมา ร้อยละ 26.58 การเตรียมพร้อมในเรื่องเอกสาร และข้อมูลที่นำมาอภิปราย
ส่วนจุดด้อย ร้อยละ 39.19 คิดว่าการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 20.27 การใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ ไม่เหมาะสม คำพูดส่อเสียด พาดพิงถึงบุคคลอื่น และการพูดนอกประเด็น
ขณะที่ร้อยละ 40.51 คิดว่าจุดเด่นในการอภิปรายในครั้งนี้ ประชาชนได้รู้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.มากขึ้น รองลงมา ร้อยละ 26.58 การเตรียมพร้อมในเรื่องเอกสาร และข้อมูลที่นำมาอภิปราย
ส่วนจุดด้อย ร้อยละ 39.19 คิดว่าการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 20.27 การใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ ไม่เหมาะสม คำพูดส่อเสียด พาดพิงถึงบุคคลอื่น และการพูดนอกประเด็น