ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง "การแสดงออกทางการเมืองในยุคสังคมออนไลน์" จากประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,188 คน พบว่าร้อยละ 70.8 ระบุว่า อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุดคือ สมาร์ทโฟน ส่วนร้อยละ 93.8 ระบุว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใช้มากที่สุดคือ เฟซบุ๊ก รองลงมาร้อยละ 76.0 คือ ไลน์ ส่วนร้อยละ 57.8 เห็นเพื่อนๆ ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์โพสต์ แชร์ กดไลค์ หรือคอมเมนต์ ประเด็นทางการเมืองเกือบทุกวันที่เข้าใช้ ขณะที่ร้อยละ 87.8 บอกว่า อ่านความคิดเห็นทางการเมืองที่มีการโพสต์อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์
นอกจากนี้ ร้อยละ 69.6 มีส่วนร่วมแสดงออกทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยร้อยละ 34.6 จะกดไลค์/ถูกใจ และร้อยละ 68.2 คิดว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์มีส่วนช่วยให้รู้สึกว่าการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น
ทั้งนี้ ร้อยละ 51.1 เห็นว่ารัฐบาลควรให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 46.0 บอกว่าติดตามการแสดงความเห็นของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด
นอกจากนี้ ร้อยละ 69.6 มีส่วนร่วมแสดงออกทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยร้อยละ 34.6 จะกดไลค์/ถูกใจ และร้อยละ 68.2 คิดว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์มีส่วนช่วยให้รู้สึกว่าการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น
ทั้งนี้ ร้อยละ 51.1 เห็นว่ารัฐบาลควรให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 46.0 บอกว่าติดตามการแสดงความเห็นของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด