ดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ตั้งแต่ 1 มกราคม–4 สิงหาคม พบผู้ป่วยปอดบวม 99,670 ราย เสียชีวิต 581 ราย ซึ่งโรคปอดบวมเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่เกิดอาการอักเสบบริเวณเนื้อปอดและหลอดลม ซึ่งส่งผลให้การทำงานของปอดลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบและเกิดภาวะขาดออกซิเจนได้ โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสได้หลายชนิด ผู้ป่วยจะมีไข้ ไอ มีเสมหะมาก หายใจเร็ว หอบ เหนื่อย ในเด็กเล็กมักสังเกตพบอาการหายใจเร็วกว่าปกติ (ในเด็กปกติจะมีอัตราการหายใจประมาณ 40 ครั้งต่อนาที) อาการเหล่านี้อาจจะพบตามหลังอาการโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด หรือหลอดลมอักเสบได้ หากปอดบวมรุนแรง อาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลว จนเกิดภาวะขาดออกซิเจน หรือติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้
กรณีผู้ป่วยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ปกครองต้องคอยสังเกตสัญญาณเตือนโรคปอดบวม ได้แก่ ไข้สูง เด็กมีอาการซึม ไม่กินนม ไม่กินน้ำ หายใจหอบเร็วเสียงดังหวีดหายใจซี่โครงบุ๋ม ต้องรีบไปพบแพทย์
การป้องกันโรคปอดบวมนั้น ต้องดูแลสุขภาพไม่ให้ผู้ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไข้หวัด ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดโดยเฉพาะเด็กเล็ก ไม่ควรพาไปโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โดยไม่จำเป็น หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค 02-590-3333
กรณีผู้ป่วยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ปกครองต้องคอยสังเกตสัญญาณเตือนโรคปอดบวม ได้แก่ ไข้สูง เด็กมีอาการซึม ไม่กินนม ไม่กินน้ำ หายใจหอบเร็วเสียงดังหวีดหายใจซี่โครงบุ๋ม ต้องรีบไปพบแพทย์
การป้องกันโรคปอดบวมนั้น ต้องดูแลสุขภาพไม่ให้ผู้ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไข้หวัด ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดโดยเฉพาะเด็กเล็ก ไม่ควรพาไปโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โดยไม่จำเป็น หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค 02-590-3333