ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) รายงานว่า วันที่ 1-2 สิงหาคมนี้ อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ในพื้นที่จังหวัดตาก อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง อำเภอคุระบุรี อำเภอกะปง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยเพิ่มความระมัดระวัง
นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนของกรมชลประทาน ว่า กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำใน 3 ส่วน ประกอบด้วยการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การเก็บกักน้ำในช่วงหน้าแล้ง 6 เดือนหลังสิ้นสุดฤดูฝน และการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย
ทั้งนี้ กรมชลประทานจะเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนอย่างใกล้ชิด พร้อมทบทวนการพยากรณ์ในทุกเดือน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำสอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตก โดยจะเน้นการใช้น้ำจากน้ำฝนในแหล่งธรรมชาติเป็นหลัก และจะงดรับน้ำเข้าคลองระบายน้ำ และพื้นที่นอกเขตชลประทาน พร้อมไปกับการควบคุมการระบายน้ำจากเขื่อนตามความจำเป็น โดยจะเน้นการเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด เพื่อสำรองไว้ใช้ในกรณีฝนทิ้งช่วงและหน้าแล้ง โดยกรมชลประทานจะจับตาช่วงเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายนนี้ ที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ปริมาณฝนจะเพิ่มมากขึ้น และจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 2 ลูก คือช่วงเดือนสิงหาคม หรือกันยายน 1 ลูก และช่วงเดือนตุลาคมหรือเดือนพฤศจิกายนอีก 1 ลูก
นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนของกรมชลประทาน ว่า กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำใน 3 ส่วน ประกอบด้วยการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การเก็บกักน้ำในช่วงหน้าแล้ง 6 เดือนหลังสิ้นสุดฤดูฝน และการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย
ทั้งนี้ กรมชลประทานจะเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนอย่างใกล้ชิด พร้อมทบทวนการพยากรณ์ในทุกเดือน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำสอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตก โดยจะเน้นการใช้น้ำจากน้ำฝนในแหล่งธรรมชาติเป็นหลัก และจะงดรับน้ำเข้าคลองระบายน้ำ และพื้นที่นอกเขตชลประทาน พร้อมไปกับการควบคุมการระบายน้ำจากเขื่อนตามความจำเป็น โดยจะเน้นการเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด เพื่อสำรองไว้ใช้ในกรณีฝนทิ้งช่วงและหน้าแล้ง โดยกรมชลประทานจะจับตาช่วงเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายนนี้ ที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ปริมาณฝนจะเพิ่มมากขึ้น และจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 2 ลูก คือช่วงเดือนสิงหาคม หรือกันยายน 1 ลูก และช่วงเดือนตุลาคมหรือเดือนพฤศจิกายนอีก 1 ลูก