น.พ.ปิติ ทั้งไพศาล รองนายแพทย์สาธารณสุข จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า จากข้อมูลระบาดวิทยาสำนักงานสาธารณสุข จ.มหาสารคาม พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมากกว่า 5 เท่าตัว ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์อายุ 10-14 ปี 5-9 ปี และ 15-24 ปีตามลำดับ ซึ่งถือเป็นกลุ่มของนักเรียน
สำหรับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลของรัฐตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงต้นเดือนวันที่ 7 กรกฎาคม 2556 มีจำนวน 1,022 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 106.67 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นเด็กชายอายุ 12 ปี ซึ่งเป็นเด็กอยู่ในภาวะอ้วนมีน้ำหนักตัวมากถึง 79 กิโลกรัม ซึ่งเพียง 5 วันพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 93 ราย อำเภอที่มีการระบาดสูงสุดคือ อ.กันทรวิชัย อ.เมืองมหาสารคาม และ อ.วาปีปทุม
ทั้งนี้ ได้ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทีมอาสาสมัคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ให้ความรู้ประชาชน เน้นกำจัดลูกน้ำยุงลาย ด้วยการใช้หลัก 5ป. 1ข. คือ ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับ ปฏิบัติ และขัดไข่ยุงลาย รวมถึงฉีดพ่นสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย ตามโรงเรียนที่พบว่า มีการระบาดของโรค และพื้นที่ที่มีการระบาดซ้ำซาก
สำหรับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลของรัฐตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงต้นเดือนวันที่ 7 กรกฎาคม 2556 มีจำนวน 1,022 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 106.67 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นเด็กชายอายุ 12 ปี ซึ่งเป็นเด็กอยู่ในภาวะอ้วนมีน้ำหนักตัวมากถึง 79 กิโลกรัม ซึ่งเพียง 5 วันพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 93 ราย อำเภอที่มีการระบาดสูงสุดคือ อ.กันทรวิชัย อ.เมืองมหาสารคาม และ อ.วาปีปทุม
ทั้งนี้ ได้ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทีมอาสาสมัคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ให้ความรู้ประชาชน เน้นกำจัดลูกน้ำยุงลาย ด้วยการใช้หลัก 5ป. 1ข. คือ ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับ ปฏิบัติ และขัดไข่ยุงลาย รวมถึงฉีดพ่นสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย ตามโรงเรียนที่พบว่า มีการระบาดของโรค และพื้นที่ที่มีการระบาดซ้ำซาก