นายสมศักดิ์ สุวัฒิกะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า กลางเดือนกรกฎาคมนี้ สอน.จะเสนอให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) พิจารณาปรับหลักเกณฑ์การขออนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาล จากเดิมกำหนดระยะห่างระหว่างโรงงานต้องไม่ต่ำกว่า 80 กิโลเมตร แต่หลักเกณฑ์ใหม่จะผ่อนผันให้ระยะห่างน้อยกว่า 80 กิโลเมตรได้ แต่จะพิจารณาเป็นรายกรณี เพื่อแก้ปัญหาบางโรงงานที่ได้รับอนุญาตในการสร้างโรงงานอ้อย ไม่สามารถหาพื้นที่ในการสร้างโรงงานได้ เมื่อ กนอ.พิจารณาอนุมัติแล้ว จะเสนอให้ นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
อย่างไรก็ตาม สนอ.จะเข้าไปติดตามความคืบหน้าตั้งโรงงานใหม่ของผู้ประกอบการที่ได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี เมื่อ 2-3 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้ประกอบการที่ไม่มีความคืบหน้าประมาณ 10 ราย และบางส่วนติดเงื่อนไขระยะห่าง 80 กิโลเมตร เช่น โรงงานน้ำตาลตั้งใหม่ที่ จ.เลย ของบริษัทน้ำตาลขอนแก่น (มิตรผล) และบริษัทน้ำตาลมิตรผล รวมทั้งบางโรงงานอาจติดปัญหาการทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หากโรงงานไหนไม่มีความคืบหน้า อาจพิจารณาขอใบอนุญาตคืน เพื่อหารายใหม่ต่อไป
นายชลัช ชินธรรมมิตร์ กรรมการและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หาก สอน.แก้ไขหลักเกณฑ์การตั้งโรงงานน้ำตาลออกมาจนทำให้โรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ของบริษัทที่ จ.เลย ได้รับ รง.4 อาจทำให้ศาลปกครองกลางจำหน่ายคดีที่บริษัทร้องให้กระทรวงอุตสาหกรรมออก รง.4 ออก ซึ่งบริษัทเชื่อว่า การแก้ไขหลักเกณฑ์จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย แต่ต้องรอดูว่าจะผ่านความเห็นชอบจาก กนอ.หรือไม่เพราะที่ประชุมอาจมีความเห็นที่หลากหลาย รวมทั้งการออกใบอนุญาตโรงงานจะต้องพิจารณาความพร้อมในการรับอ้อยเข้าหีบด้วย เพราะชาวไร่ปลูกอ้อยก่อนโรงงานหีบอ้อยได้ อาจมีปัญหาต้องขนอ้อยไปส่งโรงงานอื่นก่อน
อย่างไรก็ตาม สนอ.จะเข้าไปติดตามความคืบหน้าตั้งโรงงานใหม่ของผู้ประกอบการที่ได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี เมื่อ 2-3 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้ประกอบการที่ไม่มีความคืบหน้าประมาณ 10 ราย และบางส่วนติดเงื่อนไขระยะห่าง 80 กิโลเมตร เช่น โรงงานน้ำตาลตั้งใหม่ที่ จ.เลย ของบริษัทน้ำตาลขอนแก่น (มิตรผล) และบริษัทน้ำตาลมิตรผล รวมทั้งบางโรงงานอาจติดปัญหาการทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หากโรงงานไหนไม่มีความคืบหน้า อาจพิจารณาขอใบอนุญาตคืน เพื่อหารายใหม่ต่อไป
นายชลัช ชินธรรมมิตร์ กรรมการและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หาก สอน.แก้ไขหลักเกณฑ์การตั้งโรงงานน้ำตาลออกมาจนทำให้โรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ของบริษัทที่ จ.เลย ได้รับ รง.4 อาจทำให้ศาลปกครองกลางจำหน่ายคดีที่บริษัทร้องให้กระทรวงอุตสาหกรรมออก รง.4 ออก ซึ่งบริษัทเชื่อว่า การแก้ไขหลักเกณฑ์จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย แต่ต้องรอดูว่าจะผ่านความเห็นชอบจาก กนอ.หรือไม่เพราะที่ประชุมอาจมีความเห็นที่หลากหลาย รวมทั้งการออกใบอนุญาตโรงงานจะต้องพิจารณาความพร้อมในการรับอ้อยเข้าหีบด้วย เพราะชาวไร่ปลูกอ้อยก่อนโรงงานหีบอ้อยได้ อาจมีปัญหาต้องขนอ้อยไปส่งโรงงานอื่นก่อน