นายชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยผลศึกษาภาพรวมเกี่ยวกับเงินออม การสะสมทุน และการถือครองทรัพย์สินของครัวเรือนไทยช่วง 2 ทศวรรษพบว่า สถานะการออมของคนไทยช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสัดส่วนครัวเรือนที่มีการออมเงิน หรือมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายมีแนวโน้มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่า โดยปี 2531 มีเงินออมเฉลี่ยเดือนละ 507 บาท แต่ปี 2552 พบว่า เพิ่มขึ้นเป็น 5,145 บาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเติบโตของรายได้ ขณะที่รายจ่ายไม่ได้ขยายตัวในอัตราที่สูงเทียบเท่ากับรายได้
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังมีความเหลื่อมล้ำด้านเงินออมระหว่างคนรวยกับคนจนอย่างชัดเจน ซึ่งปี 2552 กลุ่มคนที่ร่ำรวยสุด มีเงินออมเฉลี่ยสูงมากถึง 6,300 บาทต่อคนต่อเดือน ขณะที่กลุ่มคนที่จนสุดโดยเฉลี่ยไม่มีเงินออม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากไม่มีเงินออมที่สามารถใช้เป็นหลักประกันทางการเงินสำหรับตนเอง และครอบครัวในยามที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องใช้เงิน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความไม่เท่าเทียมกันของระดับการศึกษา โดยผู้ที่มีการศึกษาสูงมีรายได้ดี และสามารถจัดสรรเงินออมไปลงทุนในทางเลือกต่างๆ ได้ดีกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า
ทั้งนี้ ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่า โดยปี 2531 มีเงินออมเฉลี่ยเดือนละ 507 บาท แต่ปี 2552 พบว่า เพิ่มขึ้นเป็น 5,145 บาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเติบโตของรายได้ ขณะที่รายจ่ายไม่ได้ขยายตัวในอัตราที่สูงเทียบเท่ากับรายได้
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังมีความเหลื่อมล้ำด้านเงินออมระหว่างคนรวยกับคนจนอย่างชัดเจน ซึ่งปี 2552 กลุ่มคนที่ร่ำรวยสุด มีเงินออมเฉลี่ยสูงมากถึง 6,300 บาทต่อคนต่อเดือน ขณะที่กลุ่มคนที่จนสุดโดยเฉลี่ยไม่มีเงินออม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากไม่มีเงินออมที่สามารถใช้เป็นหลักประกันทางการเงินสำหรับตนเอง และครอบครัวในยามที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องใช้เงิน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความไม่เท่าเทียมกันของระดับการศึกษา โดยผู้ที่มีการศึกษาสูงมีรายได้ดี และสามารถจัดสรรเงินออมไปลงทุนในทางเลือกต่างๆ ได้ดีกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า