ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ยุติโครงการบริหารจัดการน้ำ 300,000 ล้านบาท เนื่องจากเห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 57 วรรค 2 และมาตรา 67 วรรค 2 แต่ตัวแผนแม่บทนั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงจะให้นำแผนแม่บทกลับไปสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน
ทั้งนี้ ศาลปกครองกลางระบุว่า โครงการบริหารจัดการน้ำทุกสัญญา (โมดูล) มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน จึงต้องทำการศึกษาใหม่ เนื่องจากในข้อกำหนดและขอบเขตงาน (ทีโออาร์) ระบุว่า ให้เอกชน หรือผู้รับเหมา เป็นผู้มีหน้าที่ทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากยังไม่มีการว่าจ้างและเซ็นสัญญา
ขณะที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความเห็นของประชาชน ปี 2548 ระบุว่า เป็นหน้าที่ของรัฐในการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ดังนั้น ศาลจึงมองว่าประเด็นนี้ ผู้ถูกฟ้อง คือนายกรัฐมนตรี และพวกรวม 4 หน่วยงาน กระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 คือละเลยต่อหน้าที่
ส่วนตัวแผนแม่บทซึ่งสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนยื่นเรื่องไปขอเพิกถอนแม่บทนั้น ศาลพิจารณาว่าแผนแม่บทไม่ขัดต่อกฎหมาย เพราะเกิดจากช่วงที่มีวิกฤตการณ์น้ำท่วม แต่ยังคงไม่เป็นไปตามกระบวนการรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 วรรค 2 คือการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น ศาลจึงสั่งให้ฝ่ายรัฐต้องนำแผนแม่บทโครงการบริหารจัดการน้ำกลับไปเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งหมดก่อน จากนั้น จึงดำเนินการต่อตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 คือต้องทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุภาพ โดยทั้งหมดนี้ให้ทำก่อนที่จะมีการดำเนินการว่าจ้าง เซ็นสัญญาออกแบบก่อสร้างใดๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ศาลปกครองกลางระบุว่า โครงการบริหารจัดการน้ำทุกสัญญา (โมดูล) มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน จึงต้องทำการศึกษาใหม่ เนื่องจากในข้อกำหนดและขอบเขตงาน (ทีโออาร์) ระบุว่า ให้เอกชน หรือผู้รับเหมา เป็นผู้มีหน้าที่ทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากยังไม่มีการว่าจ้างและเซ็นสัญญา
ขณะที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความเห็นของประชาชน ปี 2548 ระบุว่า เป็นหน้าที่ของรัฐในการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ดังนั้น ศาลจึงมองว่าประเด็นนี้ ผู้ถูกฟ้อง คือนายกรัฐมนตรี และพวกรวม 4 หน่วยงาน กระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 คือละเลยต่อหน้าที่
ส่วนตัวแผนแม่บทซึ่งสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนยื่นเรื่องไปขอเพิกถอนแม่บทนั้น ศาลพิจารณาว่าแผนแม่บทไม่ขัดต่อกฎหมาย เพราะเกิดจากช่วงที่มีวิกฤตการณ์น้ำท่วม แต่ยังคงไม่เป็นไปตามกระบวนการรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 วรรค 2 คือการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น ศาลจึงสั่งให้ฝ่ายรัฐต้องนำแผนแม่บทโครงการบริหารจัดการน้ำกลับไปเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งหมดก่อน จากนั้น จึงดำเนินการต่อตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 คือต้องทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุภาพ โดยทั้งหมดนี้ให้ทำก่อนที่จะมีการดำเนินการว่าจ้าง เซ็นสัญญาออกแบบก่อสร้างใดๆ ทั้งสิ้น