นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธาน มีมติเห็นชอบกรอบแผนงานการใช้เงินเพื่อลงทุนเพื่อสร้างอนาคตของประเทศในระยะยาว วงเงิน 10,000 ล้านบาท เป็นวงเงินที่ได้รับการจัดสรรจากการกู้เงินตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 วงเงิน 350,000 ล้านบาท โดยแผนการลงทุนเพื่อสร้างอนาคตประเทศของ กยอ.มีแผนงาน 7 ด้านคือ แผนงานการพัฒนาพื้นที่เกษตรและวางแผนการใช้ที่ดินทางการเกษตรที่เหมาะสม วงเงินประมาณ 3,600 ล้านบาท แผนงานการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานสำหรับอนาคตวงเงินประมาณ 1,200 ล้านบาท การพัฒนาการท่องเที่ยววงเงินประมาณ 2,300 ล้านบาท แผนงานพัฒนาการจัดการน้ำ เพื่ออุตสาหกรรมภาคตะวันออกวงเงินประมาณ 1,700 ล้านบาท แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของแรงงานและภาคเอกชน วงเงินประมาณ 1,500 ล้านบาท การบริหารจัดการกากของเสีย และมลพิษทั้งระบบ วงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท และแผนงานการวิจัยและพัฒนาเชิงปฏิบัติงาน เพื่อยกระดับการผลิตอุตสาหกรรม วงเงิน 700ล้านบาท
สำหรับรายละเอียดแผนงานทั้งหมด จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในวันพรุ่งนี้ (18มิ.ย.) จากนั้นจะสรุปเป็นแผนการกู้เงินตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555วงเงิน 350,000 ล้านบาท ที่กำหนดต้องกู้เงินให้แล้วเสร็จในวันที่ 30 มิถุนายนนี้
นายพยุงศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ในฐานะภาคเอกชนนั้นเห็นว่าแผนงานการสร้างอนาคตของประเทศไทยที่มีการแบ่งหมวดหมู่การใช้เงินด้านต่างๆ ได้ครอบคลุมยุทธศาสตร์สำคัญต่อการพัฒนาประเทศต่อเนื่องในอนาคต ถือว่าสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนได้มากขึ้น ซึ่งแผนงานต่างๆ จะสำเร็จได้อยู่ที่การจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล และการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐของกระทรวงต่างๆ อย่างจริงจัง เพื่อให้แผนงานทุกโครงการประสบความสำเร็จ
สำหรับรายละเอียดแผนงานทั้งหมด จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในวันพรุ่งนี้ (18มิ.ย.) จากนั้นจะสรุปเป็นแผนการกู้เงินตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555วงเงิน 350,000 ล้านบาท ที่กำหนดต้องกู้เงินให้แล้วเสร็จในวันที่ 30 มิถุนายนนี้
นายพยุงศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ในฐานะภาคเอกชนนั้นเห็นว่าแผนงานการสร้างอนาคตของประเทศไทยที่มีการแบ่งหมวดหมู่การใช้เงินด้านต่างๆ ได้ครอบคลุมยุทธศาสตร์สำคัญต่อการพัฒนาประเทศต่อเนื่องในอนาคต ถือว่าสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนได้มากขึ้น ซึ่งแผนงานต่างๆ จะสำเร็จได้อยู่ที่การจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล และการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐของกระทรวงต่างๆ อย่างจริงจัง เพื่อให้แผนงานทุกโครงการประสบความสำเร็จ