วันนี้ (14 มิ.ย.) ครบรอบ 90 วัน หลังศิษย์เก่าและนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ยื่นหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทาน เพื่อให้ขอให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดแถลงชี้แจงว่า เนื้อหาภายในจดหมายของอุเทนถวายเป็นการตีความเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่คลาดเคลื่อน
ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ กล่าวว่า เป็นการอ้างข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงและพิจารณาได้ 4 ประการ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระราชทานทรัพย์ เพื่อสร้างโรงเรียนเพาะช่าง ไม่ได้หมายถึงให้กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนศิลาพระฤกษ์ในจุฬาฯ สมัยรัชกาลที่ 5 ระบุอาณาเขตของจุฬาลงกรณ์ชัดเจน ครอบคลุมถึงอุเทนถวาย อีกทั้งตามอ้างอิงกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องตั้งโรงเรียนวิสามัญศึกษาช่างก่อสร้างระบุที่ตั้งโรงเรียนเท่านั้น ไม่ได้ระบุถึงกรรมสิทธิ์ครอบครอง และสุดท้ายจุฬาฯ ได้รับพระบรมราชานุญาตพระราชทานที่ดิน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายในการจัดการที่ดินจำนวน 21 ไร่
ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ กล่าวว่า เป็นการอ้างข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงและพิจารณาได้ 4 ประการ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระราชทานทรัพย์ เพื่อสร้างโรงเรียนเพาะช่าง ไม่ได้หมายถึงให้กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนศิลาพระฤกษ์ในจุฬาฯ สมัยรัชกาลที่ 5 ระบุอาณาเขตของจุฬาลงกรณ์ชัดเจน ครอบคลุมถึงอุเทนถวาย อีกทั้งตามอ้างอิงกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องตั้งโรงเรียนวิสามัญศึกษาช่างก่อสร้างระบุที่ตั้งโรงเรียนเท่านั้น ไม่ได้ระบุถึงกรรมสิทธิ์ครอบครอง และสุดท้ายจุฬาฯ ได้รับพระบรมราชานุญาตพระราชทานที่ดิน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายในการจัดการที่ดินจำนวน 21 ไร่