พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ให้สัมภาษณ์กรณีนายอุสตาซ การิม ตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็น ออกแถลงผ่านยูทิวบ์ ว่า มีลักษณะเรียกร้องแกมบังคับข่มขู่ให้ตอบสนองข้อเสนอ อ้างหยิบยกเหตุรุนแรงในอดีตกรณีการเสียชีวิตชาวบ้าน 6 ศพ ว่าทำไปเพื่อตอบโต้ฝ่ายเจ้าหน้าที่ เพื่อหวังผลในทางจิตวิทยา เพราะตั้งแต่เริ่มมีการพูดคุยทางกลุ่มยังไม่สามารถแสดงออกได้ชัดเจนว่าสามารถควบคุมวิถีการก่อเหตุได้ในพื้นที่ได้ จนเป็นเหตุให้สังคมเริ่มตั้งข้อสังเกตถึงสถานะตัวตนของกลุ่ม จึงอาจเป็นผลนำไปสู่การกล่าวอ้างถึงเหตุการณ์ในอดีตเพื่อนำมาเชื่อมโยงให้สังคมได้รับรู้ถึงสถานะ คงเป็นข้อมูลที่จะต้องพิสูจน์ความน่าเชื่อถือต่อไป
ที่สำคัญคือ เนื้อหาบางตอนยังคงพยายามบิดเบือนว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่มาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ซึ่งลักษณะนี้อาจเคยใช้ได้ผลมาเมื่อสมัยตอนเริ่มมีสถานการณ์
นอกจากนี้ เหตุการณ์ในพื้นที่มีความเชื่อมโยงกลุ่มผลประโยชน์ในพื้นที่และปัญหาภัยแทรกซ้อนในเรื่องธุรกิจผิดกฎหมาย ไม่ใช่มีเหตุปมเงื่อนไขเป็นไปตามการประกาศของนายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำบีอาร์เอ็น เพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้ การพูดคุยสันติภาพกับนายฮัสซัน ตอยิบ อาจเป็นเพียงการดำเนินการต่อกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ต้องติดตามต่อไป โดยเฉพาะความต้องการแฝงในการอยากยกระดับหรือสร้างมูลค่ากลุ่มในสายตาของทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อขยายหรือยกระดับไปสู่เวทีสากล ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควร ที่สำคัญกลุ่มของนายฮัสซัน ตอยิบ อาจไม่ใช่ตัวแทนของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงทั้งหมดในพื้นที่ ข้อเสนอบางส่วนดูยังไม่สอดคล้องในหลักมาตรฐานกฎกติกาทางสังคม อย่างไรก็ตาม การพูดคุยสันติภาพกับนายฮัสซัน ตอยิบ น่าจะมีส่วนในการเพิ่มโอกาสที่จะสร้างความสงบในพื้นที่ด้วยเช่นกัน
ที่สำคัญคือ เนื้อหาบางตอนยังคงพยายามบิดเบือนว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่มาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ซึ่งลักษณะนี้อาจเคยใช้ได้ผลมาเมื่อสมัยตอนเริ่มมีสถานการณ์
นอกจากนี้ เหตุการณ์ในพื้นที่มีความเชื่อมโยงกลุ่มผลประโยชน์ในพื้นที่และปัญหาภัยแทรกซ้อนในเรื่องธุรกิจผิดกฎหมาย ไม่ใช่มีเหตุปมเงื่อนไขเป็นไปตามการประกาศของนายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำบีอาร์เอ็น เพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้ การพูดคุยสันติภาพกับนายฮัสซัน ตอยิบ อาจเป็นเพียงการดำเนินการต่อกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ต้องติดตามต่อไป โดยเฉพาะความต้องการแฝงในการอยากยกระดับหรือสร้างมูลค่ากลุ่มในสายตาของทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อขยายหรือยกระดับไปสู่เวทีสากล ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควร ที่สำคัญกลุ่มของนายฮัสซัน ตอยิบ อาจไม่ใช่ตัวแทนของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงทั้งหมดในพื้นที่ ข้อเสนอบางส่วนดูยังไม่สอดคล้องในหลักมาตรฐานกฎกติกาทางสังคม อย่างไรก็ตาม การพูดคุยสันติภาพกับนายฮัสซัน ตอยิบ น่าจะมีส่วนในการเพิ่มโอกาสที่จะสร้างความสงบในพื้นที่ด้วยเช่นกัน