นายอุเทน ชาติภิญโญ อดีตประธานคณะกรรมการผันน้ำลงทะเลทางฝั่งตะวันออก เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทบทวนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัย การก่อสร้างทางผันน้ำ หรือ ฟลัดเวย์ ในสัญญาเอ 5 ที่ต้องผันน้ำลงสู่อ่าวไทยไม่น้อยกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพราะจะทำให้รัฐบาลสูญเสียงบประมาณกว่า 1.5 แสนล้านบาท โดยไม่จำเป็น
นายอุเทน กล่าวต่อไปว่า การสร้างทางผันน้ำสัญญาเอ 5 ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทางยาว 300 กิโลเมตร จนถึงขณะนี้ประชาชนยังไม่รู้ข้อมูลว่าโครงสร้างทางผันน้ำเป็นอย่างไร และจะกระทบกับพื้นที่ของชาวบ้านหลายจังหวัดหรือไม่ ขณะที่ปริมาณดินที่ขุดขึ้นมาทั้งหมด จากการก่อสร้างทางผันน้ำจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร และใครเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งคาดว่าอาจจะก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันขึ้น โดยจากการวิเคราะห์บริษัทไอทีดี เพาเวอร์ไชน่า และบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) จะไม่ถอนตัวจากโครงการนี้อย่างแน่นอน แต่บริษัทโคเรียวอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น มีความเป็นไปได้ที่จะถอนตัวจากสัญญาเอ 5 เพราะสัญญาเอ 5 ไม่มีความชัดเจนในเรื่องการเวนคืนที่ดิน ซึ่งอาจจะทำให้มีปัญญาตามมา
ขณะเดียวกัน ยังยืนยันว่า การสร้างทางผันน้ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาไม่จำเป็น ซึ่งควรเปลี่ยนเป็นการสร้างคลอง เช่นเดียวกับสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ บริเวณบางปู ใกล้กับสถานีสูบน้ำบางตำหรุ ซึ่งจะสามารถป้องกันพื้นที่ในเขตตัวเมือง จ.สมุทรปราการ ไม่ให้น้ำท่วมได้
นายอุเทน กล่าวต่อไปว่า การสร้างทางผันน้ำสัญญาเอ 5 ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทางยาว 300 กิโลเมตร จนถึงขณะนี้ประชาชนยังไม่รู้ข้อมูลว่าโครงสร้างทางผันน้ำเป็นอย่างไร และจะกระทบกับพื้นที่ของชาวบ้านหลายจังหวัดหรือไม่ ขณะที่ปริมาณดินที่ขุดขึ้นมาทั้งหมด จากการก่อสร้างทางผันน้ำจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร และใครเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งคาดว่าอาจจะก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันขึ้น โดยจากการวิเคราะห์บริษัทไอทีดี เพาเวอร์ไชน่า และบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) จะไม่ถอนตัวจากโครงการนี้อย่างแน่นอน แต่บริษัทโคเรียวอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น มีความเป็นไปได้ที่จะถอนตัวจากสัญญาเอ 5 เพราะสัญญาเอ 5 ไม่มีความชัดเจนในเรื่องการเวนคืนที่ดิน ซึ่งอาจจะทำให้มีปัญญาตามมา
ขณะเดียวกัน ยังยืนยันว่า การสร้างทางผันน้ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาไม่จำเป็น ซึ่งควรเปลี่ยนเป็นการสร้างคลอง เช่นเดียวกับสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ บริเวณบางปู ใกล้กับสถานีสูบน้ำบางตำหรุ ซึ่งจะสามารถป้องกันพื้นที่ในเขตตัวเมือง จ.สมุทรปราการ ไม่ให้น้ำท่วมได้